Hocco Co.,Ltd.
226 Visetsiri Building Phaholyothin Road, Samsen Nai Sub-district, Phayathai District, Bangkok 10400
ปี 2022 มีภาพยนตร์ดราม่า-ไซไฟที่ทำให้คนดูได้ฉุกคิดและตั้งคำถามเกี่ยวกับหุ่นยนต์ AI มากขึ้น และการเล่าเรื่องในรูปแบบที่หลาย ๆ คนไม่ค่อยคุ้นเคยหากพูดว่านี่คือหนังเทคโนโลยี โดยหนังเรื่องนี้ได้มีการดัดแปลงบทจากเรื่องสั้นที่มีชื่อว่า “Saying Goodbye to Yang” ในหนังสือเรื่อง “Children of the New World” ของนักเขียนชาวอเมริกันอย่าง Alexander WeinStein บอกเล่าเรื่องราวในโลกอนาคตเกี่ยวกับครอบครัวแห่งความหลากหลาย
ในแง่ของความหลากหลายของคนในครับครัวที่มีพ่อหรือเจคเป็นคนขาว แม่หรือไคร่าเป็นคนดำ และลูกสาวมิกะเชื้อสายจีน ด้วยเหตุนี้ทำให้ผู้เป็นพ่อและแม่จำเป็นจะต้องหาพี่เลี้ยงที่มีความรอบรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมจีนเพื่อให้ลูกสาวของตัวตัวเองได้มีความรับรู้เกี่ยวกับชีวิตแบบจีนที่พ่อและแม่หาให้ไม่ได้ จึงจำเป็นต้องมี หยาง ‘Yang’ ผู้เข้ามาเป็นลูกชายคนโตในครอบครัว ตามบทได้เขียนไว้ว่า หยาง ‘Yang’ นั้นเป็นมนุษย์เทคโนโลยีทางวัฒนธรรมที่มีส่วนช่วยในการเป็นพี่เลี้ยงและเป็นพี่ชายที่ดีของ มิกะ ‘Mika’ ผู้เป็นน้องสาว
ในภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอนาคต การใช้ชีวิตของตัวละครทุกตัวในช่วงแรกของภาพยนตร์ทำให้เราแยกไม่ออกเลยว่าตัวหยางเองนั้นไม่ใช่มนุษย์จริง ๆ ผู้เขียนบทตั้งใจให้เขียนให้การมีอยู่ของตัวละครที่เป็นหุ่นยนต์ในยุคนั้นเป็นเรื่องที่ปกติมาก ไม่มีใครสามารถแยกคนกับหุ่นยนต์ออกจากกัน จนกว่าจะถึงเวลาที่หุ่นยนต์นั้นมีปัญหาด้านระบบ
เรื่องราวดำเนินเข้าสู่จุดที่ระบบของหยางเริ่มมีปัญหาและไม่มีทางแก้ไขได้ และจะเกิดการย่อยสลายในท้ายที่สุด ต้องบอกว่าไม่ใช่ว่าภาพยนตร์จะสร้างตัวละครที่เป็นหุ่นยนตร์ให้สามารถมีชีวิตอยู่ได้ตราบนานเท่านานไม่มีวันตาย หุ่นยนต์เองก็ถูกวางรางฐานอายุไว้ว่าควรมีเวลาใช้ชีวิตอยู่บนโลกนี้ร่วมกับมนุษย์นานเท่าไหร่เหมือนกัน จากเหตุการที่ระบบของหยางมีปัญหา ผู้เป็นพ่อและแม่ก็ต่างหาวิธีที่จะแก้ไขและพยายามจะซ่อมหยางให้กลับมาใช้ชีวิตตามปกติ เนื่องจากเกิดความผูกพันระหว่างกันและกัน และตัวมิกะผู้เป็นน้องสาวก็ยังต้องการเรียนรู้การใช้ชีวิตในแบบฉบับของคนจีนซึ่งส่วนหนึ่งที่จะเข้ามาเติมเต็มความเป็นจีนให้กับมิกะก็คือมนุษย์เทคโนโลยีวัฒนธรรมอย่างหยางเท่านั้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพบกันของหยางกับเอดา ผู้เป็นมนุษย์โคลน ซึ่งการโคลนนิ่งมนุษย์ในช่วงเวลาที่เกิดขึ้นในภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ปกติมาก แต่ก็ยังมีคนหลากหลายกลุ่มที่อาจจะตั้งคำถามถึงการโคลนนิ่งมนุษย์อยู่เหมือนกันว่าเป็นเรื่องที่ควรยอมรับได้หรือไม่ ซึ่งตัวละครเจคผู้เป็นพ่อก็ถูกพูดถึงในแง่ว่าเป็นมนุษย์ที่ไม่ชอบการมีอยู่ของมนุษย์โคลนเช่นกัน
การปรากฏตัวของ ‘เอดา’ มนุษย์โคลนผู้อยู่ในความทรงจำมากมายของหยางจากการที่เจคเห็นในกล่องความทรงจำของหยางก็ทำให้ออกตามหาเอดาว่าเธอมีตัวตนอยู่จริงหรือไม่ เพราะในความทรงจำของหยางเห็นเอดาอยู่สองเวอร์ชันด้วยกัน แล้วความจริงก็กระจ่างที่ได้รู้ว่าหยางนั้นเคยถูกดูแลโดยเจ้าของครอบครัวหนึ่งที่มีหลานสาวเป็นเอดา และเกิดความรู้สึกมีความรักต่อกันระหว่างหุ่นยนต์กับมนุษย์ แต่เรื่องราวกลับพลิกผันทำให้เอดาจากโลกนี้ไปและครอบครัวเอดาก็ทำการโคลนนิ่งขึ้นมาใหม่ และหยางเองก็หาเอดาพบอีกครั้งหลังจากจากลากันไปในครั้งนั้นด้วยความตาย
บรรยากาศความเป็นภาพยนตร์ไซไฟของ After Yang แน่นอนว่าอาจไม่ใช้แบบฉบับภาพยนตร์ไซไฟที่หลายคนคุ้นเคย ถ้าให้นึกถึงภาพยนต์ไซไฟของโลกอนาคตหลายคนคงไม่มองเห็นภาพในแบบฉบับของ After Yang นี้เท่าไหร่ เราจะไม่เห็นภาพแสงสีที่ล้ำหน้า แต่เราจะเห็นชีวิตและจิตใจของผู้คนในโลกอนาคตร่วมกับความรู้สึกนึกคิดของหุ่นยนต์และมนุษย์โคลน ที่ถ่ายทอดการใช้ชีวิตแบบธรรมดาความรักและความผูกพันอันแสนธรรมดาแม้โลกนี้จะล้ำหน้าไปขนาดไหนก็ตาม รวมถึงบทสนทนาอันล่วงรู้จุดจบในชีวิตของหยางว่าเขาไม่สามารถมีชีวิตอยู่เป็นนิจนิรันดร์ที่จะอยู่ดูแลมิกะได้เท่าที่พี่ชายคนหนึ่งจะสามารถดูแลน้องสาว การมาและการจากไปของหยางต่อครอบครัวนี้ไม่ใช่แค่การซื้อหุ่นยนต์มาดูแลคนคนหนึ่งเมื่อเครื่องพังก็เปลี่ยนใหม่ ทุกอย่างเจ็บปวดและสะเทือนใจเปรียบเป็นดังสมาชิกหนึ่งในครอบครัวคนหนึ่งได้มลายหายไปจากโลกนี้เช่นเดียวกัน
0 Comment