ในยุคปัจจุบันที่ซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ได้ถูกพัฒนาไปมากแล้ว การเชื่อมต่อระหว่างซอฟต์แวร์แต่ละตัวที่ภาษาแตกต่างกัน ระบบปฏิบัติการต่างกัน หรืออยู่คนละมุมของโลก ที่เคยยุ่งยาก หรือแทบเป็นไปไม่ได้ ได้ถูกปฏิวัติไปด้วยซอฟต์แวร์ตัวหนึ่งไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นั่นก็คือ API นั่นเอง แล้ว API คืออะไรกันแน่ล่ะ Hocco จะพาคุณไปหาคำตอบ พร้อมกับบอกวิธีการใช้งานและการเชื่อมต่อคร่าว ๆ ให้ได้ทราบกัน
API คือ ตัวช่วยเชื่อมต่อซอฟต์แวร์ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
Application Programming Interface หรือ API คือการเชื่อมต่อจากระบบหนึ่งไปสู่อีกระบบหนึ่ง เพื่อให้ซอฟต์แวร์ภายนอกเข้าถึงและอัปเดตข้อมูลนั้น ๆ ได้ แต่ก็ยังอยู่ในขอบเขตที่ถูกกำหนดไว้ หรือก็คือ API จะเป็นตัวกลางในการคอยรับคำสั่งต่าง ๆ มาประมวลผล และกระทำการส่งข้อมูลกลับคืนไปยังคนสั่งโดยอัตโนมัติ อย่างเช่นพวก Application ต่าง ๆ ที่เราใช้งานกันอยู่ในปัจจุบันนั่นเอง
ชนิดของ API มีอะไรบ้าง
ชนิดของ API สามารถแบ่งได้ง่าย ๆ 2 รูปแบบ ได้แก่
1. ตามลักษณะการเข้าถึง
- Private : เป็น API ที่ใช้เรียกภายในองค์กร หรือระบบซอฟต์แวร์เดียวกัน
- Partner : เป็น API ที่ไว้ให้ Partner รายใดรายหนึ่งเรียกใช้ ซึ่งอาจมีการ Customize ตามที่ต้องการ และข้อตกลงทางธุรกิจโดยเฉพาะ
- Public : เป็น API ที่เปิดให้ใครก็ได้เรียกใช้ด้วยมาตรฐานเดียวกัน
2. ตามลักษณะการทำงาน
- Synchronous : เมื่อมีการเรียก API นี้ โปรแกรมจะหยุดเพื่อรอคำตอบจาก API แล้วจึงจะทำงานต่อได้
- Asynchronous : ตรงข้ามกับ Synchronous โปรแกรมจะไม่หยุดทำงานเพื่อรอคำตอบจาก API แต่จะใช้การ Callback เมื่อได้รับการเรียกกลับมาจาก API
วิธีการเชื่อมต่อ API ฉบับผู้เริ่มต้น
สำหรับการเชื่อมต่อ API สำหรับคนที่พึ่งเริ่มใช้งานนั้น มี 4 ขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้
1. เริ่มต้นด้วยการรับ Key API โดยการรับ Key API จะสามารถทำได้โดยสร้างบัญชีที่ได้รับการยืนยันกับผู้ให้บริการ API แล้ว
2. ตั้งค่าไคลเอ็นต์ HTTP API ซึ่งการที่เราตั้งค่าไคลเอ็นต์ HTTP API จะช่วยให้เราสามารถจัดการกับโครงสร้างคำขอ API ได้อย่างง่ายดายโดยใช้ Key API ที่ได้รับ
3. หากไม่มีไคลเอ็นต์ API เราก็สามารถลองจัดโครงสร้างคำขอด้วยตัวเอง ในเบราว์เซอร์ของเราได้ โดยอ้างอิงจากเอกสารประกอบ API
4. เมื่อคุ้นเคยกับ API ใหม่แล้ว ก็จะสามารถเริ่มนำไปใช้ใน Code ของเราได้ง่ายนั่นเอง
ใช้ API ที่มีคนสร้างไว้ก่อน เราจะต้องทำยังไง
การที่เราจะใช้ API ของคนอื่นที่ได้สร้างเอาไว้แล้ว มีอะไรบ้างที่เรานั้นควรจะรู้ มาดูกันเลย
1. URL ที่จะต้องยิง Request ไป
API นั้นเปรียบเสมือนโกดังเก็บข้อมูลที่มีอย่างหลากหลาย ซึ่งถ้าเราอยากได้ข้อมูลแบบไหนเราก็จะต้องเจาะจงว่าไปที่โกดังไหนหมายเลขอะไร ซึ่ง URL นี้ก็เป็นตัวเจาะจงว่าเราจะใช้ข้อมูลตัวไหนที่ผู้ให้บริการจัดเตรียมไว้ให้ โดยจาก Doc เราจะต้องมองหา Keyword ว่า HTTP Request ซึ่งนั่นจะทำให้เรารู้ว่า URL ดังกล่าวนั้นคืออะไร
2. Method อะไรที่ต้องใช้
การใช้ API นั้นจะต้องใช้งานผ่าน HTTP Request ซึ่ง HTTP Request นั้นเป็นการส่งข้อคำขอเพื่อร้องขอข้อมูลกับทางผู้ให้บริการ เช่น การเข้าเว็บไซต์ต่าง ๆ จะเป็นการส่งคำขอเพื่อรับหน้าเว็บมาแสดงผล โดย HTTP Request จะต้องระบุ Method ที่ใช้งานเอาไว้ด้วย
3. Parameter ที่ต้องใช้มีอะไรบ้าง
Parameter เป็นข้อมูลที่ผู้ให้บริการต้องการใช้ เพื่อการใช้งาน API ตามปกติแล้วจะเป็นการเจาะจงข้อมูลที่ต้องการ เช่น เป็นข้อมูลของวันที่เท่าไหร่ หรือเป็นการใส่ API -Key ที่เป็นการกำหนดว่าคนร้องขอเป็นใคร โดยส่วนมากจะต้องสมัครสมาชิกเพื่อรับ API -Key ซึ่งจะไม่ซ้ำกับคนอื่น
4. Respond ที่ตอบกลับมา
เมื่อเรากดส่งก็จะได้ข้อมูลประเภท JSON (รูปแบบข้อมูล String ที่ใช้กันในการส่งข้อมูล) ซึ่งข้อมูลนี้คือผลลัพธ์ที่ทางผู้ให้บริการตอบกลับมาจากข้อมูลทั้งหมดที่เราส่งให้ หลังจากนี้ คือหน้าที่ของเราว่าจะเอาข้อมูลส่วนไหนไปทำอะไรเช่น HDURL ที่ให้ข้อมูล URL ของรูปให้เรานำไปแสดงบนเว็บของเรา Explanation ที่เป็นคำอธิบายรูปเท่ ๆ ที่เราอาจอยากนำไปประกอบรูปเพื่อเพิ่มความน่าสนใจ เป็นต้น
5. ข้อกำหนดและข้อตกลง
เนื่องจาก API นี้เป็นของคนอื่น ดังนั้น จึงอย่าลืมที่จะทำความเข้าใจข้อตกลง และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดด้วย เช่น บางที่อาจให้ใส่ Credit หรือห้ามใช้ในเชิงพาณิชย์ เป็นต้น
ประโยชน์ของการสร้าง API ของตัวเอง
การสร้าง API ของตัวเองมาใช้งาน ช่วยให้สามารถจัดระเบียบ Code และกำหนดเวอร์ชั่นของงานได้ และหากใช้งานสำหรับบริษัทหรือสถาบัน ก็ยังสามารถใช้เพื่อให้บริการที่พนักงานคนอื่นไม่สามารถเข้าถึงได้ เว้นแต่จะได้รับสิทธิ์เฉพาะในการดูได้อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม การสร้าง API มาใช้งานเอง ก็ยังมีประโยชน์อื่น ๆ อยู่เช่น
- สามารถลดจำนวนโค้ดซ้ำ ๆ ที่จำเป็นในการสร้าง Application ของเราลงได้
- สามารถสร้างสภาพแวดล้อมของผู้ใช้ให้ปลอดภัยยิ่งขึ้นได้ เนื่องจากมีเฉพาะบุคคลที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น ที่จะสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ตามดุลยพินิจของพวกเขา
ซึ่งหากใครที่กำลังต้องการสร้าง API ของตัวเองมาใช้งานอยู่แล้ว แต่ไม่ได้มีความรู้ในเรื่องการเขียนโปรแกรม Big Data และกำลังมองหาบริษัทซอฟต์แวร์เฮาส์เพื่อให้สร้าง API ให้อยู่ล่ะก็ Hocco คือบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ให้บริการในด้านซอฟต์แวร์ และดิจิทัลโซลูชั่นแบบครบวงจร โดยตั้งต้นจากความต้องการของผู้ใช้งาน ไปจนถึงการออกแบบซอฟต์แวร์โซลูชั่น และดำเนินการติดตั้งระบบอย่างแม่นยำ
สามารถไว้ใจเราได้ด้วยประสบการณ์การทำงานทั้งหมดที่เรามีในธุรกิจหลากหลายประเภท หลากหลายขนาด และในอุตสาหกรรมทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น
- CORPORATE
- GOVERNMENT
- REAL ESTATE
- CONSULTANT
- BANK
- EDUCATION
นอกจากนี้ เรายังให้บริการดูแล และบำรุงรักษาระบบด้วยนักพัฒนาซอฟต์แวร์ของเรา เพื่อช่วยสนับสนุนให้ธุรกิจของคุณสามารถดำเนินงานได้อย่างสะดวกสบายในทุกขั้นตอนด้วยความเชี่ยวชาญด้านดิจิทัลโซลูชั่น เรายังสามารถช่วยดูแลการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของคุณ เพื่อให้คุณสามารถโฟกัสที่การเติบโตของธุรกิจได้อย่างไร้กังวลอีกด้วย
สรุป
Application Programming Interface หรือชื่อที่หลาย ๆ คนรู้จักอย่าง API คือ ซอฟต์แวร์ตัวกลางระหว่างซอฟต์แวร์อื่น ๆ เช่น ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล ฯลฯ ให้ซอฟต์แวร์เหล่านั้นสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ ไม่ว่าจะอยู่กันคนละที่ ภาษาที่ใช้เขียนคนละแบบ หรืออยู่คนละมุมโลก และยังไม่จำเป็นต้องเป็นการเชื่อมต่อผ่านอินเทอร์เน็ตเท่านั้น เสมือนการต่อชิ้นส่วนเลโก้ ทำให้ได้แอปพลิเคชันที่มีความสามารถสูง โดยที่ตัวโปรแกรมเมอร์ไม่จำเป็นต้องรู้สิ่งที่เกิดขึ้นภายในของซอฟต์แวร์ที่เรียกผ่าน API ต่าง ๆ เลยนั่นเอง
อ้างอิง
https://aws.amazon.com/th/what-is/api/
https://www.thaibulksms.com/blog/post/what-is-an-api-explain-like-someone-who-do-not-know-about-it/
https://aigencorp.com/what-is-api/
https://race.nstru.ac.th/home_ex/blog/topic/show/5860
https://medium.com/skooldio/api-คืออะไร-264ee4186f2c
https://www.webapponsite.com/view/blog-31
https://appmaster.io/th/blog/apis-samhrabphuuerimtn-withiiaich-api-khuumuue-chbabsmbuurn
https://www.borntodev.com/2020/04/13/how-to-use-api/
0 Comment