×

START A PROJECT

We are here to build a high-quality extension for brands to serve your consumers.

    By Noon Saranya - 01 พฤศจิกายน 2021

    รวมทริค Chart แบบไหน? เหมาะกับ Data ที่เรามีอยู่

    ปัจจุบันที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรานั้น การทำสไลด์พรีเซ็นต์งาน หรือดูข่าวสารผ่านโซเชียลมีเดียและสื่อต่าง ๆ ง่ายและรวดเร็ว แต่การนำเสนอ Data Visualization หรือ Dashboard ที่อยู่ในรูปแบบกราฟ แผนภูมิ หรืออินโฟกราฟิกด้วยโปรแกรม เช่น Google Data Studio, Tableau, PowerBI ที่เคยเขียนไว้ในบทความไม่ต้องมีพื้นฐานก็สร้าง Dashboard ได้!ให้ออกมาเหมาะสมกับข้อมูลที่เรามี

    ที่มา : https://www.pexels.com/th-th/ 

    เมื่อเรามีข้อมูลอยู่ในมือพร้อมที่จะนำเสนอให้กับคนอื่นแล้ว สิ่งต่อไปที่เราต้องคำนึงคือเรื่องการเอาข้อมูล มาปรับใช้ยังไงให้เหมาะสมกับประเภทแผนภูมิเพื่อให้การนำเสนอข้อมูลมีความน่าสนใจมากขึ้น และคนที่ดูสามารถเข้าใจว่าแผนภูมินั้นมีวัตถุประสงค์อะไร และต้องการจะสื่ออะไรไม่ว่าจะเป็นเทรนของยอดขายใน 4 ปีย้อนหลังหรือ Data Visualization ทำนายยอดขายในอนาคต ให้เหมาะสมกับข้อมูลนั้นทำยังไงวันนี้เราจะมาอธิบายกัน

    1. Line Charts (แผนภูมิเส้น) จะแสดงข้อมูลที่ต่อเนื่องกัน โดยเฉพาะเรื่องของเวลา แสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามช่วงเวลาเพื่อดูแนวโน้ม ณ ช่วงเวลานั้น ๆ รวมถึงสามารถใช้ทำนายแนวโน้มในอนาคตได้ ได้อย่างชัดเจน เราสามารถใช้ Line Charts เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพคุณสมบัติของสิ่งที่ต่างกัน 2 อย่างในช่วงเวลาเดียวกัน เพื่อช่วยในตัดสินใจ

    2. Area Charts (แผนภูมพื้นที่) มีหน้าตาคล้ายแผนภูมิเส้น ในพื้นที่ของแผนภูมิระหว่างแกนและเส้นจะถูกเน้นด้วยสีหรือลวดลาย เหมาะสำหรับเน้นความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลา แสดงให้เห็นผลรวมของความแตกต่างระหว่างข้อมูลด้วยสี หรือลวดลาย

    3. Bar Charts (แผนภูมิแท่ง) ผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย เพราะน่าจะคุ้นเคยมาพอสมควรเหมาะสำหรับคนที่ต้องการเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างประเภท โดยแผนภูมิแท่งแบบแนวตั้งเหมาะสำหรับต้องการเปรียบเทียบข้อมูลที่เป็นชนิดเดียวกันแต่เวลาต่างกัน และแผนภูมิแท่งแบบแนวนอนเหมาะสำหรับเมื่อต้องการเปรียบเทียบข้อมูลที่ต่างประเภทกัน

    4. Pie Charts (แผนภูมิวงกลม) เป็นแผนภูมิที่แสดงเป็นสัดส่วนย่อย ๆ ต่อข้อมูลทั้งหมดเหมาะกับการนำเสนอข้อมูลที่มีส่วนประกอบย่อยที่รวมกันเป็น 100% มีการแบ่งส่วนให้ดูง่าย และสวยงามประหยัดพื้นที่ แต่ในทางตรงกันข้ามอาจจะดูยากในเรื่องของจำนวนของข้อมูล ยิ่งถ้ามีจำนวนส่วนมาก จะยิ่งแยกยาก และไม่ควรเป็นกราฟในรูปแบบ 3 มิติเพราะจะมองยากมากยิ่งขึ้น

    5. Doughnut Charts (แผนภูมิโดนัท) มีการออกแบบเดียวกับแผนภูมิวงกลม แต่สามารถแสดงข้อมูลได้มากกว่า 1 ชุดข้อมูล เหมาะที่จะใช้ในการเปรียบเทียบชุดข้อมูล

    6. Tree Maps (แผนภูมิต้นไม้) คือการนำเสนอข้อมูลแบบแสดงให้เห็นพื้นที่ แสดงผลเป็นในแบบลำดับชั้น หรือแบบโครงสร้างต้นไม้ อาจจะนำเสนอข้อมูลแต่ละประเภทเป็นประเภทย่อย ๆ ของข้อมูลนั้น โดยขนาดของพื้นที่และใช้สีที่แตกต่างกัน

    7. Radar Charts (แผนภูมิเรดาร์) เป็นแผนภูมิที่ใช้ลักษณะคล้ายแปนภูมิวงกลม เหมาะสำหรับการนำเสนอข้อมูลเป็นหัวข้อ แล้วนำมาวิเคราะห์หาจุดอ่อน จุดแข็งของข้อมูล ซึ่งจำนวนเหลี่ยมของเรดาร์จะเท่ากับจำนวนหัวข้อของข้อมูล และแปลงข้อมูลแล้วจะกระจายจากจุดศูนย์กลางของวงกลมไปในแต่ละแกน

    ทุกวันนี้ข้อมูลมีความเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันเรามากขึ้น มีการนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ ในรูปแบบ Data Visualization ซึ่งรูปแบบแผนภูมิที่เราได้พูดถึงมีหลายรูปแบบ และสิ่งสำคัญก่อนที่คุณจะนำเสนอออกไป คือควรจะรู้ก่อนว่าใครจะเป็นผู้รับสารนั้น และสิ่งสำคัญของการนำเสนอเพื่อที่จะสื่อสารให้คนอื่นได้รับรู้ และเข้าใจคือ ศึกษาคุณสมบัติต่างๆ ของรูปแบบการนำเสนอข้อมูลและแผนภูมิต้องเหมาะสมกับข้อมูลที่เรามี 

    0 Comment