×

START A PROJECT

We are here to build a high-quality extension for brands to serve your consumers.

    By HOCCO - 24 มิถุนายน 2024

    วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลทำได้อย่างไร ดูเครื่องมือที่ใช้และหลักการทำ


    ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับ การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) ที่เป็นกระบวนการสำคัญอย่างหนึ่งของการทำธุรกิจ การทำวิจัย และการทำแบบสำรวจ ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ จึงจำเป็นต้องเก็บรวบรวมข้อมูลที่ถูกต้อง มีคุณภาพมาใช้ในการวิเคราะห์ เพื่อนำไปประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างแม่นยำขึ้น บทความนี้ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการจะเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างไรให้สามารถ ออกแบบการวิจัย ให้สอดคล้องกับธุรกิจได้อย่างตรงจุด ทั้งความหมาย ประเภท แหล่งที่มาของข้อมูล รูปแบบการเก็บ วิธีการเก็บและการรวบรวมข้อมูลที่มีประสิทธิภาพทำได้อย่างไรบ้าง ที่ให้นักวิเคราะห์ นักวิจัย นักการตลาด หรือนักธุรกิจมือใหม่สามารถทำตามได้ง่าย ๆ

    การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection)

    Data Collection หรือ การเก็บรวบรวมข้อมูล คือ กระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์ ประมวลผล หรือจัดเก็บเพื่อใช้ในการตัดสินใจ การเก็บข้อมูลสามารถทำได้หลากหลายวิธี เช่น การสำรวจแบบสอบถาม การสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง การเก็บข้อมูลจากระบบสารสนเทศ (Information System) การเก็บข้อมูลจากฐานข้อมูลออนไลน์ หรือการเก็บข้อมูลจากการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่แล้ว การเก็บข้อมูลที่ถูกต้องและเพียงพอเป็นสิ่งสำคัญในการใช้ข้อมูลให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการทำงานต่อไป

    2 ประเภทของข้อมูล

    โดยทั่วไปสามารถจำแนกประเภทของข้อมูลเป็น 2 ประเภท ดังนี้

     1. ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data)

    ข้อมูลเชิงปริมาณ คือ ข้อมูลที่ถูกเก็บรวบรวมมาในรูปแบบตัวเลข (Numerical data) แสดงปริมาณของสิ่งที่สามารถนับหรือวัดได้ ซึ่งสามารถนำไปใช้วิเคราะห์ทางสถิติได้ โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

    ● แบบต่อเนื่อง (Continuous Data) เป็นข้อมูลเชิงปริมาณที่มีความต่อเนื่องของข้อมูล ค่าที่ได้ทำให้สามารถแยกย่อยออกมาเป็นจุดทศนิยม เช่น อายุ ส่วนสูง น้ำหนัก เป็นต้น

    ● แบบไม่ต่อเนื่อง (Discrete Data) เป็นข้อมูลเชิงปริมาณที่ไม่มีความต่อเนื่องกัน โดยเป็นข้อมูลจำนวนเต็มหรือจำนวนนับ เช่น จำนวนสมาชิกในครัวเรือน จำนวนนักเรียน/นักศึกษา จำนวนรถยนต์ในประเทศไทย เป็นต้น

     2. ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Data)

    ข้อมูลเชิงคุณภาพ คือ ข้อมูลที่ไม่สามารถวัดค่าได้ด้วยตัวเลขว่ามากหรือน้อย แต่จะเป็นข้อมูลที่แสดงถึงสถานภาพ คุณลักษณะ ทัศนคติ หรือคุณสมบัติ มักจะอยู่ในรูปแบบของคำพูด การบรรยาย การอธิบาย ตัวหนังสือ รูปภาพ หรือสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น สีต่างๆ สถานที่ที่ชอบไป เชื้อชาติ สถานภาพสมรส ศาสนา กลุ่มเลือด เป็นต้น


    6 รูปแบบการเก็บข้อมูลที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน

    รูปแบบวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลมีให้เลือกใช้หลากหลายวิธีตามวัตถุประสงค์ที่นักวิจัย นักวิเคราะห์ นักธุรกิจ หรือนักการตลาดได้มีการออกแบบเอาไว้ ดังนี้

     1. แบบสอบถาม (Questionnaires)

    เป็นวิธีที่ง่ายและมีประสิทธิภาพ ผู้ตอบแบบสอบถามจะได้รับชุดคำถามที่มีทั้งแบบปิดและแบบเปิด แบบสอบถามสามารถออกแบบได้ทั้งในรูปแบบออนไลน์หรือออฟไลน์ ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามถือเป็นข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) ที่มีความถูกต้องและเป็นปัจจุบันมากที่สุด อีกทั้งการสอบถามได้ด้วยชุดคำถามเดียวกันสามารถทำได้ง่าย รวดเร็ว และสามารถสอบถามได้หลาย ๆ คนในครั้งเดียวกัน

     2. การสัมภาษณ์ (Interview)

    การสัมภาษณ์เป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่นิยมใช้ในงานวิจัยด้านสังคมศาสตร์ โดยมีเครื่องมือในการวิจัยหลายแบบ เช่น การสัมภาษณ์ตัวต่อตัว การสนทนากลุ่ม (Focus Group) และการสัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth Interview) ข้อดีของวิธีนี้คือสามารถอ่านความรู้สึกและสังเกตสภาพการณ์ต่าง ๆ จากผู้ถูกสัมภาษณ์ได้ และยังสามารถเจาะลึกเนื้อหาเฉพาะเรื่องที่สนใจได้ดี ทำให้ได้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ แต่ผู้สัมภาษณ์เองต้องมีทักษะสูงในการหาคำตอบและการใช้เวลานานเพื่อให้ได้ข้อมูลครบถ้วนตามที่ต้องการ

     3. การสนทนากลุ่ม (Focus Group)

    เป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) แบบสัมภาษณ์ที่มีการนำกลุ่มคนมาอภิปรายกันในหัวข้อที่ต้องการ ซึ่งมักจะประกอบด้วยผู้เข้าร่วมสัมภาษณ์ที่จำกัดจำนวนเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ประมาณ 6 – 10 คน และมักจะมีผู้สังเกตการณ์เข้าร่วมเพื่อบันทึกความคิดเห็นและพฤติกรรมของผู้เข้าร่วมสัมภาษณ์ในระหว่างการอภิปรายกัน เป็นวิธีที่ช่วยให้ได้ข้อมูลที่สามารถนำมาวิเคราะห์ได้เป็นรายละเอียด และช่วยในการวิจัยในด้านต่าง ๆ อย่างได้ผลอย่างมาก

     4. การสังเกตการณ์ (Observation)

    วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบสังเกตการณ์โดยตรง (Direct Observation) เป็นวิธีที่สะดวกและเร็วที่สุดในการเก็บข้อมูล โดยไม่มีการแสวงหาข้อมูลจากบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังสามารถใช้วิธีนี้ในการสังเกตคน สัตว์ สิ่งของ หรือสภาพแวดล้อมได้ แต่ควรใช้กับสถานการณ์ขนาดเล็กเท่านั้นเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำและเชื่อถือได้

     5. การวิจัยเชิงทดลอง (Experiment)

    วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบนี้ เน้นไปที่การค้นหาความจริง ความเป็นเหตุและผล โดยควบคุมตัวแปรอื่น ๆ ที่สามารถมีผลต่อตัวแปรตามได้ แต่ตัวแปรอิสระหรือตัวแปรทดลองจะไม่ต้องควบคุม

     6. การเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data Collection)

    มีลักษณะที่แตกต่างจากการเก็บข้อมูลแบบ Primary Data (ข้อมูลปฐมภูมิ) แต่ต้องเป็นการรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง แต่จะเป็นการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ เช่น รายงานการเงินของบริษัท รายงานการขายของฝ่ายขาย ข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า เช่น ชื่อ ที่อยู่ อายุ และข้อมูลติดต่อ รายงานการวิจัยที่มีผู้วิจัยไว้แล้ว รายงานผลการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ และรายงานสำรวจของรัฐบาล เช่น สำมะโนครัว ภาษี ข้อมูลประกันสังคม และข้อมูลบัญชีประชาชาติ โดยไม่ต้องมีการเข้าถึงหรือเก็บข้อมูลโดยตรงเอง

    วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพ

     1. กำหนดเป้าหมายในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากวัตถุประสงค์ ปัญหาของธุรกิจ หรืองานวิจัยที่ต้องการจะศึกษา

     2. ออกแบบเครื่องมือที่ใช้ในการออกแบบการวิเคราะห์ที่เหมาะสม เพื่อใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ต้องการ

     3. ระบุกลุ่มตัวอย่างที่จะสำรวจ จำนวนการสำรวจ เทคนิคการสุ่มตัวอย่าง รวมถึงแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ที่ต้องการสำรวจ

     4. จัดแผนรวบรวมข้อมูล โดยกำหนดวัน เวลาที่จะสำรวจ ทีมสำรวจ และระยะเวลาการสำรวจ

     5. จัดหาทีมสำรวจ พร้อมทำการอบรมให้เข้าใจวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง อธิบายแบบสอบถาม และวิธีการสำรวจ หากใช้แบบสอบถามออนไลน์จะสะดวกในการสำรวจ รวมทั้งวิธีการรวบรวมข้อมูลก็จะสะดวกมากยิ่งขึ้น

     6. ดำเนินการรวบรวมข้อมูลที่ได้จากกลุ่มตัวอย่างหรือแหล่งข้อมูลตามที่กำหนดเอาไว้

    7. รวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามที่ตอบสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว รวมถึงข้อมูลจากแหล่งทุติยภูมิ เพื่อนำมาวิเคราะห์ หาผลลัพธ์ หรือข้อสรุปในการทำวิจัย จัดทำทำรายงาน จัดทำค่าสถิติ ฯลฯ 


    สรุป

    จากบทความข้างต้น สามารถสรุปได้ว่าในยุคดิจิทัลนี้ การเก็บรวบรวมข้อมูล หรือ Data Collection เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากต่อธุรกิจของคุณ ที่จะช่วยให้ได้ข้อมูลเชิงลึกมาพัฒนาต่อยอดออกแบบความสำเร็จให้กับธุรกิจของคุณได้ หรือหากธุรกิจไหนไม่มีพื้นฐานด้านการเก็บรวบรวมข้อมูล สามารถปรึกษาบริษัท รับจ้างทำการวิเคราะห์การตลาด ธุรกิจ เพื่อหาไอเดีย แนวทางการทำการตลาดที่เหมาะสมกับธุรกิจของคุณ

    Hocco เราพร้อมให้คำปรึกษา พัฒนาซอฟต์แวร์และแนะนำโซลูชั่นที่เหมาะสมกับองค์กรของคุณ นอกจากนี้เรายังมีบริการทางด้าน IT Consultant ทุกรูปแบบอย่างครบวงจร อาทิเช่น รับออกแบบเว็บไซต์ รับเขียนโปรแกรม และพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ เพื่อช่วยสนับสนุนให้ธุรกิจของคุณสามารถดำเนินงานได้อย่างสะดวกสบายในทุกขั้นตอน ด้วยความเชี่ยวชาญด้านดิจิทัลโซลูชั่นของเรา เพราะเราตั้งใจที่จะมอบเทคโนโลยีที่ดีที่สุดเพื่อช่วยให้คุณสามารถขยายธุรกิจของคุณให้เติบโตได้อย่างไร้กังวล สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ hello@hocco.co หรือโทร. 064-6166426 , 084-7332417

    อ้างอิง

    https://www.techtarget.com/searchcio/definition/data-collection

    https://byjus.com/maths/data-collection-methods/

    https://www.simplilearn.com/what-is-data-collection-article

    https://www.scribbr.com/methodology/data-collection/

    MORE ARTICLES

    24.06.2024

    0 Comment