×

START A PROJECT

We are here to build a high-quality extension for brands to serve your consumers.

    By HOCCO - 27 พฤษภาคม 2024

    Data driven คืออะไร ต้องปรับใช้ข้อมูลแบบไหนถึงช่วยพัฒนาธุรกิจในยุคนี้


    ในโลกของยุคดิจิทัล ข้อมูลมีบทบาทสำคัญต่อธุรกิจมากกว่าที่เคยเป็นมา โดยข้อมูลมหาศาลถูกสร้างขึ้นทุกวินาทีจากหลากหลายแหล่งที่มา ไม่ว่าจะมาจากการทำธุรกรรมออนไลน์ พฤติกรรมบนโซเชียลมีเดีย เว็บไซต์ และอุปกรณ์ IoT การถือกำเนิดของ Data Driven คือสิ่งสำคัญที่คนทำธุรกิจหันมาสนใจนั่นเอง และเมื่อโลกของเราเต็มไปด้วยข้อมูลจำนวนมากแบบที่ใช้เท่าไรก็ไม่มีวันหมด ธุรกิจต่าง ๆ จึงเริ่มใช้ประโยชน์จากข้อมูลดังกล่าว ด้วยการเริ่มมองหาเครื่องมือและวิธีการในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อวางแผนการตลาด และใช้ข้อมูลมาช่วยในการตัดสินใจมากขึ้น ดังนั้น Data Driven จึงกลายเป็นกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จดอกใหม่ในโลกธุรกิจ แล้ว Data Driven คืออะไร มีประโยชน์อะไรบ้าง มาดูกันได้เลย!

    รู้จักกับ Data Driven คือ

    เริ่มแรกเรามาทำความรู้จักกับคำว่า Data Driven กันก่อน Data แปลว่า ข้อมูล และคำว่า Driven แปลว่า การขับเคลื่อน เมื่อนำมารวมกันจึงแปลว่า การขับเคลื่อนด้วยข้อมูล Data Driven หรือ Data Driven Marketing ก็คือ การทำการตลาดที่นำเอาข้อมูลต่าง ๆ จากหลากหลายช่องทาง มาทำการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ วัดผล เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับการพัฒนาสินค้า บริการ แนวทางการตลาด แนวทางการทำ Social Media Marketing ไปจนถึงแนวทางการทำ Customer Relationship insight ให้ตอบโจทย์ความต้องการและพฤติกรรมของผู้บริโภค ไปจนถึงการบริหารองค์กร การบริหารบุคคลและการตัดสินใจต่าง ๆ ด้วย Data-Driven

    Data Driven ประกอบไปด้วย

    Data Driven ประกอบไป 3 องค์ประกอบหลัก ๆ ดังนี้

     1. การเก็บข้อมูลเพื่อนำไปวิเคราะห์ เป็นแนวคิดและวิธีการของการทำ Data Driven คือการดำเนินการต่างๆด้วยการใช้ข้อมูลเพื่อให้เกิดความแม่นยำสูงสุด แต่สิ่งที่ควรพิจารณาเป็นอย่างมากคือ หากว่าข้อมูลที่นำมาเป็นสารตั้งต้นนั้นไม่มีความแม่นยำก็จะทำให้เกิดโอกาสผิดพลาดอย่างสูงในการตัดสินใจ เช่นเดียวกับการนำข้อมูลไปวิเคราะห์ต่อ หากถูกวิเคราะห์ด้วยกระบวนการที่ผิดพลาดก็มีแนวโน้มจะทำให้การตัดสินใจผิดพลาดไปด้วยเช่นกัน ดังนั้นการเก็บและวิเคราะห์ Data ที่ถูกต้องนับว่าเป็นแกนที่สำคัญที่สุดในการทำ Data Driven ในทุกๆมิติเลยก็ว่าได้

     2. การนำข้อมูลมาใช้ในการตัดสินใจ เพื่อให้การทำ Data Driven เกิดประโยชน์สูงสุด การนำข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์อย่างถูกต้องแล้วมาช่วยในการตัดสินใจในการทำการตลาดจึงเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกข้อหนึ่ง แต่เนื่องจากการตัดสินใจของแต่ละบุคคลอาจจะไม่เหมือนกัน บางคนอาจจะใช้ Feeling ในการตัดสินใจแทนการนำข้อมูลมาใช้ในการตัดสินใจ เพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันและถูกต้อง ดังนั้น จึงควรที่จะต้องสร้าง Data Driven Culture ขึ้นมาในองค์กรด้วยเช่นกัน

     3. การสร้าง Data Driven Strategies และ Data Driven Process เป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอย่างมากในการทำให้ Data Driven เกิดขึ้นจริง จากองค์ประกอบที่ 2 จะเห็นได้ว่าการทำให้เกิด Data Driven อย่างแท้จริง สิ่งสำคัญนั่นก็คือ การตัดสินใจด้วยข้อมูล หรือที่เรียกว่า Data Driven Decision Making ซึ่งหากเป็นในบุคคลอาจจะมีการบังคับตัวเองได้ไม่ยากนัก แต่ในลักษณะของการบริหารองค์กรนั้น ถ้าหากไม่มี Data Driven Process จะเป็นเรื่องยากมากที่จะปรับคนทั้งองค์กรให้มาดำเนินงานในลักษณะของ Data Driven เพราะหลายๆคนยังจะติดความเคยชินของการตัดสินใจด้วย Feelings อยู่

    ดังนั้นการสร้าง Workflow หรือ ออกแบบ Process ให้ทุกคนในองค์กรเกิดการใช้ Data Driven ในทุกช่วงของการทำงานจึงเป็นองค์ประกอบที่สำคัญมากนั่นเอง

    ประโยชน์ของ Data Driven ที่จะช่วยขับเคลื่อนธุรกิจ

     1. ช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น

    การวิเคราะห์ผลลัพธ์ที่ถูกต้องจะช่วยสร้างโอกาสให้ธุรกิจได้รู้จักกับลูกค้าของคุณมากขึ้น ซึ่ง Data ที่นำมาวิเคราะห์นั้นสามารถใช้ข้อมูลด้านพฤติกรรมของลูกค้าในการใช้งานสื่อออนไลน์ต่าง ๆ รวมทั้งการเข้าเว็บไซต์ที่ธุรกิจสามารถนำผลลัพธ์ที่ได้มานั้นมาปรับปรุงและพัฒนาสินค้าให้ดีมากยิ่งขึ้น

     2. ช่วยสร้างประสบการณ์ที่น่าประทับใจให้กับลูกค้า

    การที่แบรนด์หรือองค์กรรู้จักลูกค้าของตัวเองเป็นอย่างดี เป็นปัจจัยสำคัญที่ใช้สร้างความประทับใจให้กับลูกค้า ซึ่งข้อมูลลูกค้าในกระบวนการทำ Data Driven จะถูกนำมาจัดเก็บ วิเคราะห์ และสรุป เป็นฐานข้อมูลลูกค้า เพื่อที่แบรนด์จะได้รู้จักลูกค้าเป็นอย่างดี ซึ่งทำให้องค์กรสามารถสร้างสินค้าและบริการที่ตรงใจลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น

     3. ช่วยให้รู้ความสัมพันธ์ของข้อมูลต่าง ๆ

    การทำ Data Driven ที่ดีนั้นจะช่วยให้ธุรกิจรู้ความสัมพันธ์ รู้ที่มาที่ไปของข้อมูลต่าง ๆ เช่น การรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าในด้านการบริการมีมากแค่ไหน รู้ว่าทำไมลูกค้าถึงเลือกใช้งานสินค้าและบริการของธุรกิจเรา แต่หากคุณไม่ได้ใช้ Data เข้ามาวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย ก็อาจจะทำให้ตัวคุณไม่รู้ความสัมพันธ์ของข้อมูลส่วนสำคัญต่าง ๆ เช่น ยอดขายไม่เป็นไปตามเป้า เพราะสินค้าของเราไม่เป็นที่ต้องการในกลุ่มผู้บริโภคกลุ่มนั้น ๆ ดังนั้นการทำ Data Driven ในการทำการตลาดจะช่วยให้ธุรกิจออกแบบสินค้าและบริการต่าง ๆ ได้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้นผ่านการเข้าใจความสัมพันธ์ของข้อมูล

     4. ช่วยให้สามารถวางกลยุทธ์การตลาดได้ดีขึ้น

    การทำ Data Driven ช่วยให้ธุรกิจมีข้อมูลในการทำการตลาดในทุก ๆ ระยะของการทำงาน ตั้งแต่การมีข้อมูลเชิงลึกของลูกค้า (Customer Insight) เพื่อออกแบบกลยุทธ์การตลาด เลือกกลุ่มเป้าหมาย เลือกวิธีการ เลือกช่องทางทำการตลาดที่น่าจะสร้างผลลัพธ์ได้ดีที่สุด ลดเวลา แรง และค่าใช้จ่ายในการทดลอง

     5. ช่วยให้ตัดสินใจด้านกลยุทธ์ได้อย่างแม่นยำ

    Data Driven Decision Making คือสิ่งที่ช่วยให้ธุรกิจตัดสินใจได้อย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยไม่ต้องพึ่งพาเพียงสัญชาตญาณหรือประสบการณ์ เพราะข้อมูลเชิงลึกจากการวิเคราะห์จะช่วยให้เราสามารถเข้าใจลูกค้า ตลาด และคู่แข่งได้อย่างลึกซึ้ง เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของลูกค้า จะทำให้เรารู้ว่าคนส่วนใหญ่ที่ซื้อสินค้าของเราเป็นคนกลุ่มไหน และนำมาพัฒนากลยุทธ์การตลาดให้ตรงใจคนกลุ่มดังกล่าวได้มากขึ้น

     6. ช่วยในการติดตามผลการดำเนินการ

    การทำ Data Driven ยังมีส่วนช่วยในการวัดผลการดำเนินงานจากการทำ Performance Tracking ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาจาก Tools จำพวก Dashboard ที่คอยรายงานข้อมูลผลลัพธ์ในการทำการตลาดแบบ Real Time โดยเฉพาะการทำการตลาดแบบ Omni Channel ที่เป็นการทำการตลาดจากทั้งช่องทางออนไลน์ และช่องทางออฟไลน์ โดยในการทำ Data Driven Performance Tracking ที่ดีนั้นจะช่วยให้คุณเห็นถึงข้อมูลหรือความเปลี่ยนแปลงของผลลัพธ์ที่ได้แบบอัปเดตตลอดเวลา เพื่อวัดผลลัพธ์ความสำเร็จและนำมาปรับปรุงพัฒนา รวมถึงนำมาสนับสนุนการตัดสินใจต่างๆ


    5 เทคนิค ใช้ Data Driven ให้ประสบความสำเร็จ

     1. กำหนดเป้าหมายในการทำ Customer Data Driven Strategy คืออะไร

    หนึ่งในขั้นตอนที่มีความสำคัญก่อนที่จะเริ่มเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อนำไปใช้ทำการตลาด คือ การตั้งเป้าหมาย/วัตถุประสงค์ในการทำการตลาดให้ชัดเจน เพื่อที่จะได้ทราบว่าต้องทำการเก็บข้อมูลอะไรที่เกี่ยวข้องบ้าง รูปแบบของข้อมูลที่ต้องการนั้นมีอะไรบ้าง การพิจารณาแหล่งที่มาของข้อมูล หรือการเลือกวิธีหรือเครื่องมือสำหรับหาข้อมูลให้เหมาะสม

     2. การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection)

    ด้วยความที่ข้อมูลอาจมีปริมาณมหาศาลและอาจถูกเก็บอย่างกระจัดกระจาย ไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในทันที สำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูล ส่วนใหญ่จึงใช้เครื่องมือ (Data Tool) เข้าไปดึงข้อมูลจากแหล่งข้อมูลโดยตรง ซึ่งผู้ควบคุมข้อมูลสามารถกำหนดได้ว่า ต้องการข้อมูลอะไรบ้างและให้เครื่องมือนำเสนอข้อมูลอย่างไร โดยเทคนิคที่เราอยากจะแนะนำก็คือให้คุณรวบรวมข้อมูลจากทุกแหล่งหรือทุกแพลตฟอร์มที่เกี่ยวข้องมาเก็บไว้ในที่เดียวกัน (ทำเหมือนเป็น Big Data ของบริษัท) เพื่อให้ทีมสามารถนำไปใช้งานได้ง่ายและสะดวก เพื่อป้องกันความสับสน ลดข้อผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น

     3. การวิเคราะห์ข้อมูล (Analyzing Data)

    ขั้นตอนถัดมา คือ การนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มาวิเคราะห์เพื่อหาข้อมูลเชิงลึก (Insight) หรือข้อสรุปจากคำถามหรือโจทย์การหาข้อมูลที่กำหนดไว้ โดยรูปแบบการวิเคราะห์ข้อมูล (Analyzing Data) ที่เราจะแนะนำก็มีด้วยกันดังนี้

      ● Descriptive Analysis – การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่ออธิบายชุดข้อมูล เช่น รายงานยอดขายตามรายการสินค้า จำนวนการเยี่ยมชมเว็บไซต์แยกตามกลุ่มเป้าหมาย ฯลฯ

      ● Exploratory Analysis – การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อค้นคว้าหรือหาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลตั้งแต่ 2 ชุดขึ้นไป เช่น รายงานยอดขายกับกลุ่มเป้าหมายสัมพันธ์กันอย่างไร

      ● Inferential Analys – การวิเคราะห์ข้อมูลตัวอย่างเพื่อใช้อ้างอิง เช่น การวิเคราะห์ความคิดเห็นและพฤติกรรมของกลุ่มตัวอย่างต่อการใช้งานแอปพลิเคชัน

      ● Predictive Analysis – การวิเคราะห์รูปแบบข้อมูลเพื่อพยากรณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น การวิเคราะห์แนวโน้มหรือเทรนด์การเติบโตของตลาด เทรนด์ยอดขายในรอบปี ฯลฯ

      ● Causal Analysis – การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ เพื่อหาสาเหตุของสิ่งที่เกิดขึ้น เช่น การทดลองและวิเคราะห์เพื่อหาปัจจัยที่ทำให้ลูกค้าเต็มใจเข้าร่วมระบบสมาชิกของห้างสรรพสินค้า

      ● Mechanistic Analysis – การวิเคราะห์เพื่อทำความเข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรหนึ่งส่งผลต่อตัวแปรอื่นอย่างไร ซึ่งในมุมของการวิเคราะห์เพื่อทำการตลาดอาจจะเป็นการทดลองเปลี่ยนเปลี่ยนแปลงปัจจัยหนึ่ง เช่น การลำดับ Section บนหน้าเว็บไซต์ ส่งผลต่อ “ยอดคลิก” อ่านรายละเอียดสินค้าอย่างไร

     4. ใช้ประโยชน์จากข้อมูล (Data Usage)

    เริ่มตั้งแต่การนำเสนอข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย สามารถเข้าใจข้อมูลเชิงลึก (Insight) หรือเห็นภาพได้ชัดเจน มีการจัดกลุ่มข้อมูลเป็นส่วนต่าง ๆ ที่ทำให้เข้าใจภาพรวมหรือสิ่งที่ต้องการทราบได้ทันที ซึ่งอาจนำเสนอออกมาเป็น Dashboard ที่เล่าด้วยภาพ หรือ “Data Visualization” ก็จะช่วยให้เข้าใจได้ง่ายกว่า ทำให้สามารถตัดสินใจและนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้ทันที ไม่ว่าจะนำไปวางกลยุทธ์ วางแผนปฏิบัติงาน หรือตัดสินใจเลือกช่องทางในการทำการตลาด ฯลฯ

     5. ติดตามและวัดผลลัพธ์ (Tracking & Measuring)

    การทำ Data Driven Marketing คือการทำการตลาดที่ไม่สิ้นสุด หลังจากที่ธุรกิจได้ข้อมูลเชิงลึก (Insight) สำหรับการทำการตลาดแล้ว ระหว่างที่ดำเนินงาน ควรนำ Insights ที่ได้มาตั้งสมมติฐาน ทดลองทำสิ่งใหม่ ๆ และหมั่นติดตามและวัดผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ เพื่อให้รู้ว่า อะไรที่ทำแล้วได้ผล อะไรที่ควรปรับปรุงหรือล้มเลิก การติดตามและรู้ผลลัพธ์จะช่วยให้ธุรกิจสามารถปรับแต่ง (Optimize) สิ่งที่ทำให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งการใช้ประโยชน์จากข้อมูลในทุกกระบวนการจะทำให้ธุรกิจของคุณเติบโตได้อย่างก้าวกระโดดในยุคที่มีการแข่งขันกันสูงเหมือนในปัจจุบัน ซึ่ง ถือเป็นหัวใจของการทำ Data Driven Marketing ที่แท้จริง

    ตัวอย่างธุรกิจระดับโลกที่ใช้ Data Driven ขับเคลื่อนองค์กร

    ตัวอย่างธุรกิจระดับโลกอย่าง Youtube : ทุกครั้งที่คุณเข้า Youtube นอกจากจะแสดงช่องที่คุณติดตามแล้วนั้น Youtube คุณจะได้พบกับคอนเทนต์ที่ตรงกับความต้องการหรือสไตล์ในการรับชมคอนเทนต์ของคุณเสมอ นั่นเป็นเพราะว่า Youtube มีการทำ Data Driven ที่ต้องการสร้าง Personalized Marketing ให้กับผู้ชมผ่านการใช้งานตัวเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานของ User (Data-Driven) ที่เป็นเทคโนโลยี AI โดยจะคัดเลือกคอนเทนต์ในแนวเดียวกับที่เราชอบดูอยู่บ่อย ๆ หรือเคยกดค้นหาเอาไว้ขึ้นมาแสดงให้ User เห็นก่อนเป็นอันดับแรกเสมอ

    สรุปแล้ว Data Driven คือ การนำข้อมูลที่ได้จากหลากหลายแหล่งที่มา มาวิเคราะห์เพื่อวางกลยุทธ์ คาดการณ์ และช่วยตัดสินใจในการดำเนินงานต่าง ๆ ในธุรกิจ ซึ่งต้องมีองค์ประกอบสำคัญต่างๆ เช่น CRM เครื่องมือวิเคราะห์เว็บ ฯลฯ มาช่วยรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล โดยในปัจจุบันนี้ Data Driven เริ่มเป็นกลยุทธ์มาตรฐานที่หลายธุรกิจเลือกใช้ เพราะช่วยเพิ่มความคล่องตัวและเพิ่มประสิทธิภาพการทำธุรกิจได้

    สำหรับธุรกิจที่ต้องการทำ Data Driven และกำลังมองหาผู้ช่วยในการทำ Data Driven ให้ถูกต้องและแม่นยำ เพื่อให้ธุรกิจของคุณเติบโต พัฒนาองค์กรและระบบบริหารภายใน หรือเพื่อต่อยอดธุรกิจ บริษัท Hocco ของเราพร้อมช่วยสนับสนุนให้ธุรกิจของคุณสามารถดำเนินงานได้อย่างสะดวกสบายในทุกขั้นตอน ด้วยความเชี่ยวชาญด้าน IT consultant เราสามารถช่วยดูแลการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของคุณ เพื่อให้คุณสามารถโฟกัสที่การเติบโตของธุรกิจได้อย่างไร้กังวล สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ hello@hocco.co หรือ โทร. 064-616-6426, 084-733-2417

    อ้างอิง

    https://datascientest.com/en/data-driven-definition-benefits-and-methods

    https://www.sydle.com/blog/data-driven-what-it-is-and-why-it-s-important-606c8a4e4b136c41e0e2c334

    https://www.semrush.com/blog/data-driven-marketing/?kw=&cmp=AA_SRCH_DSA_Blog_EN&label=dsa_pagefeed&Network=g&Device=c&utm_content=683768476929&kwid=dsa-2264713437285&cmpid=18361936995&agpid=156031506946&BU=Core&extid=117797130538&adpos=&gad_source=1&gclid=CjwKCAjwrIixBhBbEiwACEqDJdSY50p6jWv2gEDW_ACcXM0PLOE3ljMqOMInWb4fXvz6_yzExhxl3hoCP9EQAvD_BwE

    0 Comment