×

START A PROJECT

We are here to build a high-quality extension for brands to serve your consumers.

    By HOCCO - 16 ตุลาคม 2024

    ธุรกิจ E-commerce คืออะไร พร้อมเทคนิคสร้างกำไรแบบก้าวกระโดด


    ในปัจจุบันการซื้อสินค้าและบริการบนเว็บไซต์ของธุรกิจ E-commerce ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของทุกคน เมื่อพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป ธุรกิจต่าง ๆ จึงต้องปรับตัวไปอยู่บนโลกอินเทอร์เน็ตเพื่อตอบโจทย์การใช้งานและให้ลูกค้าพบเห็นได้ง่าย ซึ่งจากสถานการณ์ COVID-19 ที่ผ่านมายิ่งกระตุ้นให้คนซื้อขายผ่านออนไลน์มากยิ่งขึ้น ทำให้หลายธุรกิจต้องเร่งปรับแผนธุรกิจให้รองรับระบบ E-commerce เพื่อความคล่องตัวและความอยู่รอดของร้าน เพื่อทำให้เราสามารถยังแข่งขันในตลาดได้อย่างยั่งยืนในยุคดิจิตอล บทความนี้จะทำให้คุณเข้าใจว่าธุรกิจ E-commerce คืออะไร? รวมไปถึงข้อดี ข้อเสีย และพร้อมทั้งเทคนิคการโปรโมตสินค้าให้เติบโตแบบก้าวกระโดด ที่จะช่วยให้คุณนำมาประยุกต์ใช้ในธุรกิจของคุณได้

    ทำความรู้จักกับธุรกิจ E-commerce คืออะไร

    ธุรกิจ E-commerce (Electronic Commerce) หรือการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือการซื้อขายสินค้าหรือบริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยอาจครอบคลุมถึงการทำธุรกรรม การโฆษณา การชำระเงิน และการบริการหลังการขาย ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ตลอด 24 ชั่วโมงของทุกวัน และผู้ซื้อไม่จำเป็นต้องเดินทางไปยังร้านค้าจริง ๆ ธุรกิจ E-commerce จึงมักจะอยู่ในรูปแบบของร้านค้าออนไลน์ เว็บไซต์แอปพลิเคชัน หรือแพลตฟอร์มเชิงพาณิชย์ต่าง ๆ เช่น Lazada, Shopee, Amazon เป็นต้น

    เพื่อให้เข้าใจง่าย ๆ เราสามารถแบ่งประเภทธุรกิจ E-commerce ได้ตามกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกันในการซื้อขาย โดยแบ่งออกเป็น 6 ประเภท ดังนี้

    ผู้ประกอบการกับผู้บริโภค (Business to Consumer - B2C) คือการซื้อขายระหว่างผู้ขายกับผู้บริโภคโดยตรง อย่างเช่น การซื้อขายสินค้าทางโซเชียลมีเดีย หรือซื้อสินค้าผ่านหน้าเว็บไซต์ต่างๆ หรือที่เราคุ้นเคยกันดี อย่างการซื้ออาหารผ่านบริการ Grab นั่นเอง

    ผู้ประกอบการกับผู้ประกอบการ (Business to Business B2B) คือการซื้อขายระหว่างธุรกิจ ครอบคลุมการซื้อเพื่อขายส่ง นำมาผลิต หรือใช้ในการดำเนินธุรกิจ

    ผู้บริโภคกับผู้บริโภค (Consumer to Consumer - C2C) คือการซื้อขายที่เกิดขึ้นโดยคนทั่วไป ไม่ใช่ผู้ประกอบการเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการแลกเปลี่ยนสินค้ากันเอง หรือขายสินค้ามือสอง เป็นต้น

    ผู้ประกอบการกับภาครัฐ (Business to Government - B2G) คือการซื้อขายระหว่างธุรกิจเอกชนกับภาครัฐ หรือที่เราอาจจะเคยได้ยินกันว่าการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ

    ภาครัฐกับประชาชน (Government to Consumer - G2C) ในที่นี้ไม่ใช่การขาย แต่เป็นรูปแบบของการชำระค่าบริการต่างๆ เช่น การเสียภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต การให้บริการข้อมูลต่าง ๆ กับประชาชนผ่านระบบอินเทอร์เน็ต

    ภาครัฐและภาครัฐ (Government to Government - G2G) อันนี้ค่อนข้างไกลตัว เพราะเป็นการทำธุรกิจของหน่วยงานตรงถึงกันโดยผ่านช่องอินเทอร์เน็ต

    ช่องทางการค้าสินค้าแบบ E-commerce

    ในปัจจุบันมีช่องทางการทำ E-commerce หลายช่องทางที่ได้รับความนิยม และมีมูลค่าทางการตลาดมาก เช่น การทำเว็บไซต์, Social Commerce หรือ Marketplace ซึ่งแต่ละช่องทางเปรียบเสมือนหน้าร้านออนไลน์ของธุรกิจ ที่มีจุดอ่อนจุดแข็งที่แตกต่างกันไป โดยเราสามารถทำ E-commerce ช่องทางใดช่องทางหนึ่ง หรือทำทุกช่องทางพร้อมกันก็ได้

     1. ทำเว็บไซต์ E-commerce สร้างตัวตนในโลกออนไลน์

    การทำเว็บไซต์ อีคอมเมิร์ซ คือการสร้างเว็บไซต์สำหรับขายสินค้ากับผู้บริโภคโดยตรง ข้อดีของการสร้างเว็บไซต์ ผู้ประกอบการจะเป็นเจ้าของเว็บไซต์ 100% สามารถปรับเปลี่ยน หรือออกแบบเว็บไซต์ได้ตามใจชอบ มีความมั่นคงสูง แต่อย่างไรก็ตาม การทำเว็บไซต์ต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างถึงจะประสบความสำเร็จ เช่น การทำ SEO การโปรโมตเว็บไซต์ หรือการออกแบบเว็บไซต์ที่ได้มาตรฐาน จึงทำให้มีค่าใช้จ่ายในช่วงแรกที่ค่อนข้างสูง และจะต้องปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ทันสมัยอยู่เสมอ

    โดย Hocco ของเรามีดิจิทัลโซลูชันครบรูปแบบที่ให้บริการพัฒนาซอฟต์แวร์ รับเขียนโปรแกรมซอฟต์แวร์ ระบบ เกม เว็บไซต์ ระบบหลังบ้าน IT consultant และดิจิทัลโซลูชั่นอย่างครบวงจร เราตั้งใจส่งมอบเทคโนโลยีและโซลูชันที่ดีและเหมาะสมมากที่สุดของแต่ละธุรกิจ เพื่อช่วยขับเคลื่อนธุรกิจของคุณได้อย่างรวดเร็วด้วยทีมนักพัฒนา ผู้เชี่ยวชาญและมากประสบการณ์ ซึ่ง Hocco เราสามารถทำให้อีคอมเมิร์ซเป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณได้

     2. เจาะกลุ่มผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียด้วย Social Commerce

    Social Commerce คือการซื้อขายสินค้าผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram, Twitter หรือ LINE ซึ่งสามารถทำได้ทั้งใน Personal Account และ Official Account โดยข้อดีของการทำ E-commerce ผ่านโซเชียลมีเดีย คือ มีผู้ใช้งานจำนวนมาก และมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เป็นช่องทางที่ทำให้แบรนด์เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่าย สามารถพูดคุยโต้ตอบกันได้ทันที และมีต้นทุนไม่สูงมาก อย่างไรก็ตาม การทำ Social Commerce เราจะไม่ได้เป็นเจ้าของเพจ หรือ Account ID 100% จึงทำให้อาจถูกปิดกั้นจากผู้ให้บริการเมื่อไรก็ได้

    สำหรับผู้ที่ไม่มีพื้นฐานการสร้างหน้าร้านบนโซเชียลมีเดีย หรือไม่รู้จะโปรโมตหน้าร้านให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างอย่างไรดี การใช้บริการบริษัทที่เชี่ยวด้านการทำโฆษณาบนโซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะเป็น การรับทำโฆษณา Facebook, Instagram หรือ Twitter ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยให้วางรากฐานการทำ E-commerce บนโซเชียลมีเดียได้อย่างมั่นคง

     3. วางขายสินค้าบนตลาดกลางออนไลน์ Marketplace

    Marketplace คือ เว็บไซต์ที่เป็นตลาดกลางให้คนมาซื้อขายสินค้า เช่น Shopee, Lazada หรือ JD Central มีข้อดีคือ มีความน่าเชื่อถือ มีระบบซื้อขายสินค้าที่สะดวก และกลุ่มลูกค้าที่เข้ามาใช้งานส่วนใหญ่จะมีความตั้งใจที่จะซื้ออยู่แล้ว จึงทำให้มีโอกาสปิดการขายได้ง่ายกว่าช่องทางอื่น ๆ แต่การขายสินค้าผ่าน Marketplace จะต้องเสียค่าธรรมเนียมรายปี หรือส่วนแบ่งยอดขายให้กับผู้ให้บริการ และมีการแข่งขันที่สูงที่สุด เมื่อเทียบกับช่องทาง E-Commerce อื่น ๆ


    ข้อดีและข้อจำกัดของธุรกิจ E-commerce

    ข้อดีของธุรกิจ E-commerce คือ

     1. ต้นทุนต่ำ : ไม่ต้องเสียค่าเช่าพื้นที่หรือค่าจ้างพนักงานมากเท่ากับร้านค้าจริง นอกจากนี้ยังไม่ต้องสต็อกสินค้าในปริมาณมากเพราะสามารถใช้ระบบดรอปชิป (Dropshipping) ได้

     2. เข้าถึงลูกค้าได้ทั่วโลก : E-commerce ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงตลาดในทุกภูมิภาคของโลกได้โดยไม่ต้องมีร้านค้าจริงในพื้นที่นั้น ๆ

     3. เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง : ลูกค้าสามารถเข้ามาดูและซื้อสินค้าได้ทุกเวลา เพิ่มโอกาสในการสร้างยอดขายมากขึ้น

     4. ความสะดวกสบาย : ลูกค้าสามารถเลือกดูสินค้าและทำการซื้อขายได้ง่ายจากที่บ้านหรือทุกที่ที่มีอินเทอร์เน็ต

     5. เก็บข้อมูลและวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้า : การเก็บรวบรวมข้อมูลการเข้าชมและพฤติกรรมการซื้อของลูกค้าทำให้ธุรกิจสามารถปรับปรุงกลยุทธ์และการตลาดได้อย่างแม่นยำ

     6. การขายแบบหลากหลายช่องทาง (Omni-channel) : สามารถขายสินค้าผ่านหลายแพลตฟอร์ม เช่น เว็บไซต์ แอปพลิเคชัน โซเชียลมีเดีย และแพลตฟอร์มการตลาดอื่น ๆ ได้พร้อมกัน

    ข้อจำกัดของธุรกิจ E-commerce คือ

     1. การแข่งขันสูง : การเข้าถึงตลาดได้ง่ายทำให้ธุรกิจ E-commerce มีการแข่งขันสูงมาก โดยเฉพาะในตลาดที่มีผู้ขายจำนวนมาก ทำให้ต้องใช้กลยุทธ์ทางการตลาดที่ดีเพื่อดึงดูดลูกค้า

     2. ความน่าเชื่อถือและความปลอดภัย : ผู้ซื้อบางคนยังมีความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยในการชำระเงินออนไลน์ การฉ้อโกง หรือการได้รับสินค้าที่ไม่ตรงตามโฆษณา

     3. ต้นทุนในการโฆษณาและการตลาดออนไลน์ : แม้ว่าต้นทุนการดำเนินธุรกิจจะต่ำ แต่ต้นทุนในการทำโฆษณาและการตลาดออนไลน์ เพื่อสร้างการรับรู้และการดึงดูดลูกค้าสูงขึ้นมากตามความต้องการของตลาด

     4. ปัญหาการจัดส่งสินค้า : การขนส่งสินค้าอาจประสบปัญหาล่าช้าหรือสินค้าเสียหายระหว่างการจัดส่ง ซึ่งเป็นปัจจัยที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของผู้ประกอบการ

     5. ไม่มีประสบการณ์จับต้องจริง : ลูกค้าไม่สามารถสัมผัสหรือทดลองสินค้าก่อนซื้อได้ อาจทำให้บางสินค้าขายได้ยากขึ้น เช่น เสื้อผ้า หรืออุปกรณ์เครื่องใช้ที่ต้องการการทดลองก่อนตัดสินใจซื้อ

     6. กฎระเบียบและข้อกฎหมาย : การดำเนินธุรกิจออนไลน์ในบางประเทศหรือบางภูมิภาคอาจมีข้อจำกัดด้านกฎหมาย การเสียภาษี หรือการควบคุมอื่น ๆ ซึ่งผู้ประกอบการต้องปฏิบัติตาม

    สินค้าประเภทไหนที่เหมาะกับธุรกิจ E-commerce

    ในยุคดิจิทัลที่ E-commerce กลายเป็นช่องทางหลักในการจำหน่ายสินค้าและบริการ ไม่ว่าจะขายอะไร ก็สามารถขายได้ แต่จะต้องไม่ผิดกฎหมาย และสามารถส่งผ่านทางขนส่งได้ โดยแบ่งประเภทสินค้าแบบกว้าง ๆ ได้ 3 ประเภทหลัก ดังต่อไปนี้

     ● สินค้าที่จับต้องได้ (Physical Goods) อย่างเช่น เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ เสื้อผ้า หรือสินค้าอุปโภคบริโภค

     ● สินค้าที่จับต้องไม่ได้ (Digital Goods) อย่างเช่น แอปพลิเคชัน ซอฟต์แวร์ เพลง หนัง รูปภาพ รหัสเกมหรือไอเท็มในเกม

     ● บริการหรือสิ่งอำนวยความสะดวก อย่างเช่น จองตั๋วเครื่องบิน/ตั๋วหนัง โรงแรมที่พัก คลินิกเสริมความงาม ฯลฯ

    ง่าย ๆ คือ สินค้าทุกอย่างสามารถขายผ่าน E-commerce ได้ ไม่ได้มีข้อจำกัด ควรจะเป็นสินค้าที่สามารถจัดส่งได้ง่าย มีความต้องการสูงในตลาดออนไลน์ และสามารถทำการตลาดและขายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


    เทคนิคสร้างกำไร โปรโมตสินค้า E-commerce ให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด

    การสร้างกำไรและโปรโมตสินค้าในธุรกิจ E-commerce เพื่อให้เติบโตอย่างก้าวกระโดดนั้นจำเป็นต้องใช้เทคนิคทางการตลาดที่ผสมผสานหลายวิธีเพื่อเพิ่มการมองเห็นของสินค้า ดึงดูดลูกค้าใหม่ และกระตุ้นให้ลูกค้าซื้อซ้ำ ซึ่งวันนี้ผมจะมานำเสนอเทคนิคที่จะช่วยให้ธุรกิจ E-commerce เติบโตอย่างรวดเร็ว มีอะไรบ้าง ไปดูกันได้เลย!

    1. โปรโมตเว็บไซต์ ด้วยการทำ SEO

    SEO หรือ Search Engine Optimization เป็นการพัฒนาปรับปรุงเว็บไซต์ เพื่อให้เว็บไซต์ E-commerce ของผู้ขายถูกจัดอันดับให้อยู่ในลำดับต้น ๆ ตามผลการค้นหาที่มีคนเสิร์ชบน Search Engine อย่าง Google หรือ Bing ซึ่งคนส่วนใหญ่หากต้องการจะหาซื้อสินค้าอะไรสักชิ้น สิ่งที่เขาทำก่อนอื่นเลยก็คือ “การค้นหาข้อมูลบน Google” ดังนั้นการทำ SEO จึงมีจุดประสงค์เพื่อให้เว็บไซต์ E-commerce ของเราอยู่ในลำดับแรก ๆ ของการค้นหา ทำให้ผู้บริโภคเห็นเว็บไซต์ E-commerce ของธุรกิจของคุณก่อนใคร ช่วยเพิ่มการมองเห็นสินค้าและเพิ่มผู้เข้าชมเว็บจากการค้นหาแบบออร์แกนิก

    2. การตลาดผ่าน Social Media

    ทำการตลาดผ่านการโฆษณาบนสื่อโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram, Twitter หรือ Line ซึ่งเป็นสื่อโซเชียลมีเดียที่มีจำนวนผู้ใช้งานจำนวนมาก และแต่ละสื่อโซเชียลมีเดียจะมีผู้ใช้งานที่มีลักษณะแตกต่างกัน ซึ่งจะช่วยเจาะกลุ่มเป้าหมายได้แม่นยำ สามารถช่วยเพิ่มการรับรู้แบรนด์ (Brand Awareness) และสร้างการมีส่วนร่วมกับแบรนด์ (Engagement) ได้ง่ายกว่าช่องทางอื่น ๆ และนอกจากนั้นการโฆษณาแบบจ่ายเงิน การจ้าง Influencer หรือการทำคอนเทนต์น่าสนใจเรียกผู้ติดตามก็เป็นหนึ่งในวิธียอดฮิตที่หลาย ๆ ธุรกิจเลือกใช้กัน ซึ่งช่วยดึงดูดความสนใจได้อย่างรวดเร็ว

    3. โฆษณาผ่าน Google Ads

    ใช้การโฆษณาแบบชำระเงินเพื่อเพิ่มการมองเห็นให้กับกลุ่มลูกค้าที่มีความสนใจโดยตรงในสินค้านั้น ๆ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ การโฆษณาแบบ Targeting Ads ที่เจาะกลุ่มเป้าหมายเฉพาะได้ด้วย เมื่อกลุ่มเป้าหมายค้นหา Keyword ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ E-commerce ของคุณ โฆษณาก็จะแสดงขึ้นบนผลการค้นหาอันดับต้น ๆ เสมอ เป็นวิธีโปรโมตเว็บไซต์ E-commerce ที่รวดเร็วและทำได้ทันที เพราะใช้เงินตลอดดำเนินการโฆษณา จึงทำให้ลูกค้าที่เคยเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ (Remarketing) เห็นเว็บไซต์ของคุณก่อนใคร ช่วยกระตุ้นการตัดสินใจในการซื้อได้ง่ายขึ้น

    สรุป

    ธุรกิจ อีคอมเมิร์ซ คือธุรกิจซื้อขายออนไลน์ที่กำลังเป็นที่นิยมในขณะนี้ เรียกได้ว่าเป็นธุรกิจที่เติบโตแบบก้าวกระโดดด้วยข้อดีหลาย ๆ อย่างที่ปฏิเสธไม่ได้ ความสะดวกสบายของการจับจ่ายใช้สอยมีส่วนผลักดันให้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นในไทยหรือต่างประเทศ แต่ว่าการทำธุรกิจ E-commerce ให้ประสบผลสำเร็จนั่น จะต้องทำการตลาดอย่างถูกหลักไปพร้อม ๆ กันด้วย ควรเลือกช่องทางโฆษณาที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย และสร้างคอนเทนต์ที่สามารถเพิ่มยอดขายให้กับธุรกิจได้จริง

    หากคุณสนใจในการนำธุรกิจของคุณเข้าสู่ตลาด E-commerce แต่ไม่รู้จะเริ่มยังไงดี? ติดต่อ Hocco เรามีทีมงานผู้เชี่ยวชาญในด้านการทำการตลาดทุกรูปแบบ ที่มีประสบการณ์หลากหลายภาคธุรกิจ พร้อมให้คำปรึกษาอย่างตรงไปตรงมา สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ E-mail : hello@hocco.co หรือโทร. 064-6166426, 084-7332417

    MORE ARTICLES

    0 Comment