×

START A PROJECT

We are here to build a high-quality extension for brands to serve your consumers.

    By HOCCO - 17 เมษายน 2024

    Gamification Marketing คืออะไร ดูวิธีสร้างกลยุทธ์การตลาดด้วยเกม


    ในโลกที่ความหลากหลายของการทำการตลาดมีหลายกลยุทธ์ ไม่ว่าจะ Omni channel marketing หรือที่ผมจะพูดถึงในบทความนี้ Gemification marketing ที่ได้รับการพูดถึงเป็นอย่างมาก Gamification marketing คืออะไร หลายคนคงคุ้นเคยกับการเล่น Game กันดีอยู่แล้ว แต่สำหรับคำว่า Gamification น่าจะยังมีหลายท่านที่รู้สึกไม่คุ้นหูสักเท่าไร

    โดย Gamification Marketing หรือก็คือการตลาดที่ใช้องค์ประกอบของความเป็นเกมเข้ามาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์หรือแบรนด์ (ที่ไม่ใช่เกม) ซึ่งกลุ่มลูกค้าจะได้รับประสบการณ์ที่สนุก และลุ้นเหมือนกับตอนเล่นเกม ในความเป็นจริงแล้ว Gamification ไม่ใช่เรื่องที่ไกลตัวเลย บางที่หลายสิ่งที่เราใช้อยู่ทุกวันมันก็คือ Gamification เช่น บัตรสะสมแต้ม การใช้ points หรือ การสะสมแต้มเพื่อสิทธิประโยชน์ต่างๆ

    อีกองค์ประกอบหนึ่งที่เห็นได้บ่อยๆ คือ “ลีดเดอร์บอร์ด” (leaderboard) ซึ่งก็คือตารางเปรียบเทียบคะแนนผู้เล่นว่าใครนำอยู่เพื่อกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันนั่นเอง ซึ่งคอนเซปต์ของเกมนี้ ก็สามารถที่จะนำมาปรับใช้เพื่อสร้างแรงดึงดูดความสนใจให้กับตัวของแบรนด์หรือธุรกิจต่าง ๆ ได้เช่นกัน เป็นสิ่งที่เรียกว่า Gamification Marketing นั่นเองครับ

    กลยุทธ์ Gamification Marketing คือ

    Gamification marketing คือ กิจกรรมทางการตลาดของธุรกิจ ที่นำมาประยุกต์ใช้กับการเล่นเกม โดยจะนำกติกาของเกมและลักษณะการแข่งขัน มาออกแบบกิจกรรม เช่น ระบบการให้คะแนน, การไต่อันดับ, สิทธิ์ที่จะได้รับของผู้ชนะการแข่งขัน ผู้บริโภคจะรู้สึกถึงความตื่นเต้น อยากได้รับชัยชนะ เหมือนตัวเองนั้นกำลังเล่นเกมอยู่จริง ๆ

    โดยธุรกิจสามารถนำ Gamification มาสร้างกลยุทธ์ จัดทำแคมเปญ กระตุ้นความน่าสนใจต่อกลุ่มผู้บริโภค ทั้งการดึงกลุ่มเป้าหมายใหม่ ๆ เข้ามามีส่วนร่วมกับแบรนด์ ซึ่งจะเห็นได้ว่าในยุคปัจจุบัน Gamification marketing สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ในหลากหลายวัตถุประสงค์ ไม่ว่าจะเป็นการทำให้ผู้บริโภคเกิดความภักดีต่อแบรนด์ (Brand Loyalty) มีความเชื่อมต่อและผูกพันกับแบรนด์ ส่งเสริมยอดขาย หรือแม้แต่การสร้างการรับรู้ (Awareness) ก็ได้เช่นกัน

    องค์ประกอบของ Gemification มีดังนี้

     1. กระดานคะแนน แน่นอนว่าในการเล่นเกมทั้งหลายย่อมมีกระดานคะแนนเพื่อแสดงให้เห็นถึงผู้เล่นที่กำลังคะแนนนำผู้เล่นทั้งหมดที่ทำการแข่งขันอยู่ ซึ่งการนำมาปรับใช้ในการตลาดได้ผ่านการโพสต์ชื่อ และคะแนนของผู้เข้าร่วมกิจกรรมของแบรนด์ เพื่อเป็นการสร้างการส่งเสริมการแข่งขันในกิจกรรมนั้น ๆ มากขึ้น

     2. คะแนน มีกระดานคะแนน ก็จำเป็นต้องมีคะแนน ซึ่งอาจจะเป็นคะแนนสะสมจากการชนะกิจกรรม หรือที่เราเห็นกันบ่อย ๆ ก็จะเป็นการเก็บคะแนนจากการซื้อสินค้าตามเงื่อนไข โดยคะแนนเหล่านั้นจะสามารถนำไปใช้ในการแลกส่วนลด หรือแลกของฟรีในกิจกรรมได้

     3. ด่าน ด่านภายในเกมจะเหมือนกับการเล่นผ่านอุปสรรคหนึ่งไปเจอกับอุปสรรคอีกแบบที่ต่างออกไป หรือเพิ่มระดับความยากขึ้น ซึ่งในทางของการตลาดนั้น อาจหมายถึงการสะสมคะแนนที่เพิ่มมากขึ้นจากการเข้าร่วมกิจกรรม หรือสะสมจากการซื้อของต่าง ๆ เพื่อแลกรางวัลที่ใหญ่ขึ้น คุ้มค่ามากขึ้นได้

     4. การนับถอยหลัง เกมหลายเกมในสมัยก่อน จะมีเวลาจำกัดในการเล่น เพื่อเป็นการท้าทายให้ผู้เล่น เล่นจบให้ทันในเวลาที่กำหนด ในกิจกรรมทางการตลาดก็เช่นกัน จะมีการตั้งระยะเวลาของกิจกรรมที่จัดไว้ อาจเป็นเวลา 1 เดือน 2 เดือน 3 เดือน แตกต่างกันไป ซึ่งการทำแบบนี้ก็เป็นเหมือนการกระตุ้นและท้าทายให้ลูกค้าทำกิจกรรมได้สำเร็จภายในระยะเวลาที่กำหมด

    ทำไม Gamification Marketing จึงกลายเป็นกลยุทธ์การตลาดที่บริษัทให้ความสนใจ

    การนำกลยุทธ์ Gamification Marketing เข้ามาร่วมใช้ในการตลาด คือการเพิ่มความสนุกสนานให้กับกลุ่มเป้าหมาย เนื่องจากผู้คนส่วนใหญ่นิยมเล่นเกม ชอบความท้าทายเพื่อความสนุก เพื่อแลกกับรางวัลที่เป็นเป้าหมายหลัก เป็นที่ต้องการของกลุ่มเป้าหมาย จึงเป็นแรงกระตุ้นให้ทุกคนนั้นมีส่วนร่วมกับเกม ผมได้รวบรวม 4 เหตุผลสำคัญมาให้แล้ว!

    สร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่กลุ่มเป้าหมาย

    การทำธุรกิจในออนไลน์ สิ่งที่เป็นผลเสียต่อธุรกิจคือการขาดปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า Gamification marketing จึงมีส่วนช่วยสร้างปฏิสัมพันธ์อันดีกับกลุ่มเป้าหมาย นำความสนุกสนานของกิจกรรม ทำให้ลูกค้าเกิดความรู้สึกที่ดีกับแบรนด์ และเข้าถึงแบรนด์ได้ง่ายขึ้น ผ่านการให้ข้อมูลของสินค้าที่เป็นตัวกลางระหว่างกิจกรรมกับเกม

    สร้าง Brand awareness

    อีกหนึ่งอุปสรรคของแบรนด์ในยุคดิจิทัลที่ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลจำนวนมหาศาลได้นั้น คือความยากในการรักษาฐานลูกค้าในระยะยาว และสร้าง Brand Loyalty เพราะทุกคนสามารถที่จะเปลี่ยนใจไปหาแบรนด์อื่น ๆ ได้ตลอดเวลา ซึ่ง Gamification marketing คือการช่วยดึงให้ลูกค้าอยู่กับแบรนด์ได้นานขึ้น ผ่านการจัดกิจกรรมต่าง ๆ

    ยกตัวอย่างเช่น การสะสมแต้ม ยิ่งซื้อเยอะ ก็จะเพิ่มแต้มในบัญชี และสามารถเพิ่มระดับของสมาชิกได้ ไม่ว่าจะ Gold หรือ Platinum วิธีการนี้จะช่วยให้ลูกค้าอยู่กับแบรนด์ในระยะยาว เพราะเขาได้สะสมผลประโยชน์ของตัวเองเอาไว้จำนวนมาก หากเปลี่ยนใจไปใช้แบรนด์อื่น ก็จะรู้สึกเหมือนตัวเองเป็นผู้แพ้ในเกม

    คนส่วนใหญ่เสพติดความรู้สึกอยากชนะ ไม่อยากแพ้

    อีกหนึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้กลยุทธ์ Gamification Marketing ได้ผลอย่างมากก็คือ การตัดสินแพ้ชนะที่มีอยู่ในเกม เนื่องจากตามหลักจิตวิทยา มนุษย์มักมีสัญชาตญาณชอบเอาชนะอยู่แล้ว แล้วหากใช้รางวัลหรือการลงโทษก็จะสามารถช่วยกระตุ้นให้พวกเขาทำตามเป้าหมายได้ง่ายขึ้น ดังนั้น การใช้กลยุทธ์นี้ควบคู่ไปกับการให้ของรางวัล จึงทำให้กลุ่มเป้าหมายสนใจแบรนด์และสินค้ามากขึ้นไปโดยปริยาย

    ความผูกพันกับเกมมาตั้งแต่เด็ก ๆ

    เชื่อหรือไม่ว่าเกม Console เกิดขึ้นครั้งแรกในยุค 80s และได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม เมื่อเวลาผ่านไป คนกลุ่มนั้นเติบโตขึ้นท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี จนกลายมาเป็นผู้ใหญ่ในปัจจุบัน และถึงแม้เวลาจะผ่านมานานแค่ไหน แต่พวกเขาก็ยังคงโหยหาการเล่นเกม ไม่ว่าจะในรูปแบบใด ๆ ก็ตาม ไม่ต้องพูดถึงกลุ่มเด็ก Gen Y และ Gen Z ที่ใช้เวลาว่างอยู่กับโทรศัพท์มือถือ

    ดังนั้นการเล่นเกมในรูปแบบออนไลน์จึงแทบจะอยู่ในสายเลือดอยู่แล้ว จึงสามารถสรุปได้ว่า คนยุคนี้มีความผูกพันการเล่นเกมเป็นอย่างมาก ทำให้ Gamification Marketing คือการตลาดที่เข้ากับพฤติกรรมของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี


    เริ่มทำ Gamification Marketing ยังไงดี ?

    รูปแบบของเกมมีหลากหลายประเภทตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย การนำกลยุทธ์ Gamification marketing มาใช้ต้องวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ ก่อนคิดรูปแบบเกมมาใช้เป็นกิจกรรมกับกลุ่มเป้าหมาย ในการเริ่มทำ Gamification Marketing มี 4 ขั้นตอนดังนี้

     1. วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย

    ขั้นตอนแรกคุณต้องวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายของเราก่อนว่าเป็นใคร มี Demographics แบบไหน มีความคิดอย่างไร และจะสามารถสร้างแรงกระตุ้นในการอยากรู้อยากเห็น อยากเอาชนะ หรืออยากแข่งขันได้อย่างไร นอกจากนี้ยังต้องวิเคราะห์ช่องทางรวมถึงเทคโนโลยีที่กลุ่มเป้าหมายใช้ เพิ่มดูว่าเราจะสามารถต่อยอดอะไรจากระบบของเครื่องมือเหล่านี้ได้บ้าง

     2. วางแผนระบบการเล่น

    ก่อนจะสร้างเกมขึ้นมาเราควรจะต้องคิดถึงระบบการเล่นภายในเกมว่าจะใช้ระบบอะไร มีกลไกการเล่นอย่างไร และมีองค์ประกอบต่างๆ อะไรในเกมบ้าง

     3. สร้างการมีปฏิสัมพันธ์ในแคมเปญ

    เมื่อวางแผนระบบการเล่น รวมถึงองค์ประกอบต่างๆ ภายในเกมเรียบร้อยแล้วเราก็ต้องมาสร้างวงจรความสัมพันธ์ของคนที่มาเล่นเกมว่าเราจะสามารถกระตุ้นให้คนเข้ามาเล่นเกมอย่างไร อะไรเป็นแรงขับให้คนเข้ามาเล่น กลับมาเล่นซ้ำ ไปจนถึงชวนเพื่อนเข้ามาเล่นด้วยกัน

     4. ตั้งเป้าหมายการทำแคมเปญ

    เมื่อใช้กลยุทธ์ Gamification Marketing มากับปรับใช้กับคอนเทนต์การตลาดเรียบร้อย อย่าลืมตั้งเป้าหมายแคมเปญด้วยว่าแบรนด์ทำแคมเปญนั้นไปเพื่ออะไร เช่น เพื่อเพิ่มยอดการมีส่วนร่วม เพิ่มยอดขาย ฯลฯ เพราะเมื่อตั้งเป้าหมายเอาไว้อย่างชัดเจน หลังแคมเปญเสร็จสิ้นจะได้สามารถวัดผล และนำไปปรับใช้กับแคมเปญต่อ ๆ ไปให้เกิดประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นมากกว่าเดิม

    ถ้าคุณยังไม่แน่ใจขั้นตอนการทำ Gamification Marketing ไม่อยากยุ่งยากและต้องการปรึกษาด้านการนำเอาเครื่องมือในแนว Gamification marketing เข้ามาใช้ในการสร้างแบรนด์ของคุณ รวมถึงเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเคสความสำเร็จในการนำเข้าไปใช้ รวมถึงจะจัดการอย่างไรให้ระบบนี้สามารถเข้ากับแบรนด์ของคุณได้ บริษัท Hocco ยินดีให้คำปรึกษากับคุณ

    สรุป

    ในความเป็นจริงแล้ว Gamification marketing ไม่ใช่เรื่องที่ไกลตัวเลย บางทีหลายสิ่งที่เราใช้อยู่ทุกวันมันก็คือ Gamification เช่น บัตรสะสมแต้ม การใช้ points หรือ การสะสมแต้มเพื่อสิทธิประโยชน์ต่างๆ Gamification Marketing คือการช่วยสร้างประโยชน์ให้กับแบรนด์ได้ในด้านการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า ทำให้ลูกค้าเกิดความรู้สึกในเชิงบวกกับแบรนด์ และยังทำให้เกิดการเข้าถึงแบรนด์ได้ง่ายขึ้น ผ่านการให้ข้อมูลต่าง ๆ ผ่านตัวแคมเปญเกม

    อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นการขาย ซึ่งก่อให้เกิดการสร้างรายได้ตามที่ได้วางเป้าหมายไว้ โดยที่ลูกค้าก็ยังคงได้ประโยชน์จากการเล่นเกมเช่นเดียวกัน เช่น การได้รับสินค้าทดลองใช้ฟรี หรือ Voucher คูปองส่วนลดในสินค้าที่ได้กำหนดไว้ แต้มสะสมให้กับสมาชิก เป็นต้น ดังนั้น Gamification Marketing จึงเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่สำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจ ให้ก้าวไปข้างหน้าเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า และเพิ่มสีสันใหม่ ๆ ให้กับแคมเปญ ทั้งหมดนี้เป็นอีกหนึ่งวิธีที่นักการตลาดควรนำไปใช้ในการทำกิจกรรมออนไลน์ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ผู้บริโภคได้มีส่วนร่วมกับกิจกรรมมากขึ้นด้วยครับ

    อ้างอิง

    https://www.bazaarvoice.com/blog/everything-you-need-to-know-about-gamification-marketing/

    https://smack.agency/blog/marketing/gamification-examples/

    https://brame.io/blog/gamification-marketing/

    https://popupsmart.com/encyclopedia/what-is-gamification

    MORE ARTICLES

    0 Comment