×

START A PROJECT

We are here to build a high-quality extension for brands to serve your consumers.

    By HOCCO - 17 มิถุนายน 2024

    Operating system คืออะไร มีกี่ประเภท ทำงานยังไง ทำไมต้องมี


    ในยุค Digital Transformation หลายองค์กรน่าจะคุ้นเคยกับการนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้เพื่อช่วยให้การทำงานเป็นเรื่องง่าย รวดเร็ว และแม่นยำกว่าเดิม แต่รู้ไหมว่าจริง ๆ ถ้าหากคอมพิวเตอร์ไม่มีระบบที่เรียกว่า “Operating System” คอมพิวเตอร์ก็จะกลายเป็นแค่โมเดลธรรมดาที่ไม่สามารถใช้งาน ใช้ประโยชน์ใด ๆ ได้เลย

    วันนี้ Hocco จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ Operating System คืออะไร ? ซึ่ง Operation System เป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยดีกว่า

    ทำความเข้าใจ Operating System

    Operating System (ระบบปฏิบัติการ) คือ หัวใจสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ควบคุมและคอยจัดการทรัพยากรต่าง ๆ ในเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น หน่วยความจำ , โปรแกรมและข้อมูล , การเชื่อมต่อกับอุปกรณ์พ่วงต่าง ๆ และ การเชื่อมต่อเครือข่าย หลายคนอาจจะรู้จัก Operating System ในชื่อว่า ซอฟต์แวร์ โดย Operating System ที่หลายคนคุ้นชินในปัจจุบัน ได้แก่ iOS, Windows , Linus , DOS , MacOS และ Andrord เป็นต้น

    ทั้งนี้ Operating System จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มระบบถ้าหากไม่มี โปรแกรมประยุกต์ (Application Software) สำหรับใครที่สงสัยว่าโปรแกรมประยุกต์คืออะไร ผมได้มีการเขียนอธิบายเป็นบทความแยก คุณสามารถดูเพิ่มเติมได้เลย

    ประโยชน์ของ Operating System ต่อองค์กรในปัจจุบัน


    ในยุค Digital Transformation ระบบ Operating System มีบทบาทสำคัญอย่างมากในการส่งเสริมประสิทธิภาพในการทำงานของคอมพิวเตอร์ในหลาย ๆ ด้าน ดังนี้

     1. การบริหารจัดการทรัพยากร โดย Operating System จะเข้ามาช่วยจัดการและสร้างการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

     2. ความปลอดภัย Operating System มีบทบาทสำคัญในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลภายในเครื่องคอมพิวเตอร์

     3. การเชื่อมต่อเครือข่าย Operating System ช่วยให้การเชื่อมต่อเครือข่ายมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัย

     4. การจัดการกับแอปพลิเคชัน หนึ่งบทบาทที่สำคัญของ Operating System คือ การจัดการและควบคุมการทำงานของแอปพลิเคชันที่ทำงานบนระบบ

    ประเภทของ Operation System

    ปัจจุบันสามารถแบ่งประเภทของ Operating System ตามลักษณะการใช้งาน ดังนี้

     1. Single User คือ Operating System ที่เหมาะสำหรับใช้งานกับคอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่องในเวลาเดียวกัน ยกตัวอย่าง เช่น Windows , macOS และ Linux ที่สามารถใช้งานบน PC หรือ Notebook

     2. Multi User คือ Operating System ที่สามารถใช้ได้หลาน User โดยจะมีการจำกัดสิทธิ์การเข้าถึงทรัพยากรเพื่อป้องกันการขัดแย้งระหว่าง User ยกตัวอย่าง เช่น Unix และ Linux ที่สามารถใช้ในการจัดการเซิร์ฟเวอร์หรือระบบเครือข่าย

     3. Real-Time คือ Operating System ที่นิยมใช้ในงานที่ต้องการตอบสนองทันที เช่น ระบบควบคุมการบิน หรือ ระบบควบคุมเครื่องจักรอุตสาหกรรม

     4. Distributed เป็น Operating System แบบ Distributed ที่มีการจัดการทรัพยากรและการทำงานของระบบแบบแต่ละส่วนเป็นเชิงกระจาย เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกันได้ เช่น Google’s Chrome

     5. Embedded คือ Operating System แบบฝังตัว ออกแบบมาเพื่ออุปกรณ์แบบฝังตัว เช่น สมาร์ทโฟน , เครื่องเล่นเกม หรือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ

     6. Network หรือ ระบบปฏิบัติการเครือข่าย ออกแบบมาเพื่ออำนวยความสะดวกในการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

    องค์ประกอบสำคัญของ Operating Systems 


    Operating System ประกอบไปด้วยองค์ประกอบสำคัญหลายอย่างที่ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพ ดังนี้

    1. Kernel (ไคเนิล) ทำหน้าที่ในการจัดการและควบคุมทรัพยากรของระบบ เช่น หน่วยความจำ . หน่วยประมวลผล (CPU) และ จัดการกับอุปกรณ์พ่วง (Input , Output) เป็นต้น

    2. User Interface เป็นส่วนที่คอยอำนวยความสะดวกให้กับ User ในการจัดการกับระบบ ปัจจุบันมีหลายรูปแบบ เช่น Command- Line Interface (CLI) , Voice User Interface (VUI) และ Graphical User Interface (GUI)

    3. Process Management คอยจัดการและควบคุมกระบวนการที่ทำงานบนระบบ ไม่ว่าจะเป็น การสร้าง ทำลาย และสลับการทำงานระหว่างกระบวนการต่าง ๆ

    4. Memory Management ทำหน้าที่ในการจัดการและควบคุมการเข้าถึงหน่วยความจำ เพื่อให้แต่ละโปรแกรมสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    5. File System การเก็บรวบรวมข้อมูล ทำหน้าที่จัดการและเก็บข้อมูลในรูปแบบไฟล์ รวมไปถึงการสร้าง อ่าน เขียน ลบไฟล์ และสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลอีกด้วย

    6. Device Drivers ทำหน้าที่เชื่อมต่อและควบคุมอุปกรณ์พ่วงต่าง ๆ เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกับ Operating System ได้อย่างสมบูรณ์ เช่น USB , การ์ดเสียง และเครือข่าย

    7. Security Management คอยควบคุมและป้องกันความปลอดภัยของระบบ เช่น การเข้ารหัส และ การยืนยันตัวตน เป็นต้น

    8. Networking ช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลและทรัพยากรร่วมกับระบบเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    9. Virtualization ทำหน้าที่สร้างและจำลองสภาพแวดล้อมเสมือนจริง เพื่อให้สามารถใช้งานทรัพยากรซ้ำซ้อนได้ และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ในระบบ

    10. Utilities โปรแกรมที่ใช้สำหรับการจัดการระบบ เช่น โปรแกรมตรวจสอบปัญหา , โปรแกรมสำหรับบริหารจัดการไฟล์ และ โปรแกรมเช็คอัปเดต เป็นต้น

    บทสรุป

    Operating System คือ ระบบปฏิบัติการที่ถูกพัฒนาขึ้นมา เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและแม่นยำ โดย Operating System ถือเป็นหัวใจสำคัญและเป็นสื่อกลางในการสื่อสารระหว่างโปรแกรมและฮาร์ดแวร์ และ ด้วยประโยชน์ต่าง ๆ ของ Operating System ไม่ว่าจะเป็น การบริหารทรัพยากร , การเชื่อมต่อเครือข่าย , การรักษาความปลอดภัย และ การจัดการแอปพลิเคชันและโปรแกรมต่าง ๆ ทำให้กลายเป็นซอฟต์แวร์ที่มีประโยชน์และถูกนำมาประยุกต์ใช้งานอย่างหลากหลายในปัจจุบันนั้นเอง

    0 Comment