ในยุคที่ไม่ว่าใครก็ต่างมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็น สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ หลายคนก็น่าจะเคยได้ยินคำว่า “ซอฟต์แวร์ระบบ” กันมาไม่มากก็น้อยใช่ไหมครับ แล้วซอฟต์แวร์ที่เราพูดกันในทุก ๆ วัน คืออะไร มีหน้าที่อะไร และช่วยให้ธุรกิจเติบโตอย่างได้ยังไง ?
วันนี้ผมจะพาทุกคนไปหาคำถามที่คุณสงสัยเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ระบบ ถ้าพร้อมแล้วลองไปหาคำตอบพร้อมกันเลยดีกว่าครับ
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ระบบ
ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) คือ องค์กรประกอบสำคัญในระบบคำสั่งช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถตอบสนองต่อระบบคำสั่งต่าง ๆ และทำงานได้ตามความต้องการของผู้ใช้งาน ทั้งนี้หลายคนอาจจะเกิดความสับสนระหว่างซอฟต์แวร์ระบบ กับ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ หากให้ผมอธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ
ซอฟต์แวร์ระบบจะมีหลากหลายแบบเพื่อให้เหมาะกับลักษณะการทำงานของระบบปฏิบัติการต่าง ๆ เช่น Windows , DOS , NIX และอื่น ๆ โดยซอฟต์แวร์ระบบจะทำงานอยู่ในระดับลึกของคอมพิวเตอร์ และนั้นคือข้อแตกต่างของซอฟต์แวร์ระบบ กับ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ครับ เพราะซอฟต์แวร์ประยุกต์ผู้ใช้งานจะสามารถมองเห็นหรือใช้งานโปรแกรมได้โดยตรงเลย เช่น โปรแกรมเล่นเกม โปรแกรมทำงานเอกสาร หรือโปรแกรมตัดต่อวิดีโอ เป็นต้น
หลักการทำงานของซอฟต์แวร์
หลักการทำงานของซอฟต์แวร์ระบบ คือ ทำหน้าที่เชื่อมต่อกับฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์ เพื่อควบคุมระบบคำสั่งต่าง ๆ ให้ดำเนินการได้เป็นปกติ เช่น แป้นพิมพ์ เมาส์ รวมไปถึงอุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีหน้าที่รับ-ส่งข้อมูลผ่านทางหน้าจอหรือเสียง นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการประมวลผลและการแปลภาษาเพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจภาษาที่นักพัฒนาเขียนขึ้นมา เช่น Python , SQL , ภาษาซี และภาษาระดับสูง เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ราบรื่นตามลำดับขั้นตอนที่กำหนดไว้
ประโยชน์ของซอฟต์แวร์ระบบที่ช่วยให้องค์กรทำงานได้ง่ายกว่าเดิม
ในปัจจุบันทุกบริษัทได้มีการนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้งาน เพื่อให้การทำงานสะดวกสบายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้นักพัฒนาระบบยังคงมีการพัฒนาซอฟต์แวร์ระบบอย่างต่อเนื่องเพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถตอบสนองทุก ๆ ความต้องการของผู้ใช้งานได้ นอกเหนือจากความสะดวกสบายแล้ว การนำซอฟต์แวร์ระบบมาประยุกต์ใช้ยังช่วยลดข้อผิดพลาดในการทำงาน เพิ่มความแม่นยำ และช่วยควบคุมต้นทุนและค่าใช้จ่ายแฝงต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี
ประเภทของซอฟต์แวร์ระบบ
ประเภทของซอฟต์แวร์ระบบในปัจจุบันสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ โดยแต่ละประเภทมีรายละเอียด ดังนี้
1. โปรแกรมระบบปฏิบัติการ (Operating System)
ระบบปฏิบัติการ หรือที่หลายคนเรียกว่า OS เปรียบเสมือนตัวกลางระหว่างระบบปฏิบัติการและผู้ใช้งาน เป็นซอฟต์แวร์ระบบที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ โดยเริ่มตั้งแต่ต้นระบบ ไปจนถึงการประมวลผลของซอฟต์แวร์ประยุกต์ เพื่อระบบคอมพิวเตอร์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ User
2. โปรแกรมขับอุปกรณ์ (Device Driver)
โปรแกรมขับอุปกรณ์เป็นหนึ่งในประเภทของซอฟต์แวร์ระบบ มีหน้าที่ติดต่อกับคอมพิวเตอร์ในการรับ-ส่งข้อมูลของแต่ละอุปกรณ์ เช่น แป้นพิมพ์ เมาส์ เครื่องปริ้น หรืออุปกรณ์อื่น ๆ เป็นต้น ถ้าหากไม่มีโปรแกรมขับอุปกรณ์ (Device Driver) คอมพิวเตอร์จะไม่สามารถทำงานตามคำสั่งได้ เช่น เมาส์คลิกไม่ติด หรือ เครื่องปริ้นไม่สามารถปริ้นเอกสารได้ตามคำสั่ง
3. โปรแกรมแปลภาษา (Assembler, Interpreter, Compiler)
โปรแกรมแปลภาษา คือ ซอฟต์แวร์ระบบที่มีความสามารถในการแปลภาษาคอมพิวเตอร์ที่นักพัฒนา หรือที่เรียกกันว่า “โปรแกรมเมอร์” เขียนขึ้นมาใหม่ เพื่อให้คอมพิวเตอร์เข้าใจและทำตามคำสั่งได้อย่างถูกต้อง ภาษาคอมพิวเตอร์เปรียบเสมือนตัวกลางที่ใช้ในการสื่อสารเพื่อให้ระบบต่าง ๆ เข้าใจคำสั่งตรงกัน
ประเภทของโปรแกรมแปลภาษา มีทั้งหมด 3 ประเภท ได้แก่
1. แอสเซมเบลอร์ (Assembler)
2. อินเทอร์พรีเตอร์ (Interpreter)
3. คอมไพเลอร์ (Compiler)
4. โปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utility Program)
มาถึงซอฟต์แวร์ระบบประเภทสุดท้ายอย่างโปรแกรมอรรถประโยชน์ (โปรแกรมยูทิลิตี้สำหรับระบบปฏิบัติการ) ที่มีหน้าที่สนับสนุนการทำงานในด้านต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ ส่วนใหญ่มักใช้บำรุงรักษาและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้กับคอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรมสำรองไฟล์ (Backup) โปรแกรมบีบอัดไฟล์ (File Compression) โปรแกรมจัดการไฟล์ (File Manager) โปรแกรมจัดการพื้นที่ในดิสก์ (Disk Defragmenter) และ โปรแกรมลบไฟล์ที่ไม่ต้องการ (Disk Cleanup) เป็นต้น
5 ตัวอย่างซอฟต์แวร์ระบบที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน
1. Windows เป็นซอฟต์แวร์ระบบที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน เพราะใช้งานง่าย และมีโปรแกรมประยุกต์ให้ใช้หลากหลาย สามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์อื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. macOS ซอฟต์แวร์ระบบจากบริษัท Apple ที่ได้รับการยอมรับจากนักพัฒนาระบบและนักวิจารณ์จากทั่วโลก ว่าเป็นระบบซอฟต์แวร์ระบบที่สวยงาม ใช้งานง่าย และมีความเสถียร
3. Linux ซอฟต์แวร์ระบบที่มีความสามารถในการปรับแต่งได้ตามความต้องการของผู้ใช้งาน มีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยสูง
4. Chrome OS ซอฟต์แวร์ระบบที่ออกแบบโดยบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Google โดยออกแบบมาเพื่อใช้งานใน WWW. เป็นหลัก
5. Ubuntu เป็นระบบที่มีความโดดเด่นในด้านความเสถียรและความปลอดภัยสูง
สรุป
ซอฟต์แวร์ระบบคือ ซอฟต์แวร์ที่ทำงานร่วมกับฮาร์ดแวร์ มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทั้งหมด ตั้งแต่การรับ-ส่งข้อมูล แปลภาษาคอมพิวเตอร์ รวมไปถึงการประมวลระบบปฏิบัติการต่าง ๆ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ใช้งานได้ปกติและสามารถตอบสนองการใช้งานของผู้ใช้งานได้ ทั้งนี้ถ้าหากไม่มีซอฟต์แวร์ระบบคอมพิวเตอร์ก็จะไม่สามารถทำงานได้ ก็จะกลายเป็นแค่เครื่องเปล่าเฉย ๆ แต่ไม่สามารถนำมาใช้งานได้ครับ
อ้างอิง
https://www.techtarget.com/whatis/definition/system-software
https://www.geeksforgeeks.org/system-software/
0 Comment