×

START A PROJECT

We are here to build a high-quality extension for brands to serve your consumers.

    By HOCCO - 01 กรกฎาคม 2024

    User experience คืออะไร ดูวิธีการออกแบบ UX Design สำหรับธุรกิจ


    ในยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในทุก ๆ ด้าน การออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัลจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกแบบประสบการณ์ของผู้ใช้ (User Experience Design : UX Design) และการออกแบบส่วนต่อประสานของผู้ใช้ (User Interface Design : UI Design) ซึ่งเป็นศาสตร์สองแขนงที่ทำงานร่วมกันเพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานที่มีประสิทธิภาพและน่าพึงพอใจสำหรับผู้ใช้ ซึ่งมีส่วนในการเพิ่มยอดผู้ใช้งาน และ ยอดรายได้เป็นอย่างมาก บทความนี้จะพาคุณไปทำความรู้จักกับ User Experience Design คืออะไร ประโยชน์และวิธีการออกแบบ UX Design สำหรับธุรกิจ ให้คุณนำไปปรับใช้ได้ทันที

    Use Experience (UX) คือ

    “UX” ย่อมาจาก “User Experience” หรือก็คือ “ประสบการณ์ของผู้ใช้งาน” มนุษย์ทุกคนต่างมีความรู้สึกที่ตอบสนองต่อการใช้งานบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์หรือแพลตฟอร์มเว็บไซต์ต่างๆ ตัวอย่างเช่น ความสะดวกสบาย การใช้งานง่าย ความสนุกสนาน จนเกิดเป็นความพึงพอใจสูงสุดหรือเกิดประสบการณ์ที่ดีของผู้ใช้งานนั่นเอง

    ทั้งประสบการณ์และความรู้สึกเหล่านี้ล้วนส่งผลมาจาก User Interface (UI) หรือก็คือต้นทางบางอย่างที่ทำให้ผู้ใช้งานได้มีปฏิกิริยากับประสบการณ์ของพวกเขาทั้งในแง่บวกและแง่ลบ และด้วยเหตุนี้เอง การศึกษา User Experience (UX) หรือประสบการณ์และความต้องการของผู้ใช้งานจึงเป็นสิ่งสำคัญ ว่าผู้ใช้งานต้องการอะไร แบบไหน ที่ไหน อย่างไร พอใจกับอะไรบ้าง ตั้งแต่กระบวนการแลกเปลี่ยนไปจนถึงกระบวนการใช้งาน ในที่นี้รวมไปถึงการมองกลุ่มเป้าหมายของสินค้าหรือการบริการของผู้ประกอบการเองด้วย

    โดยการศึกษาและทำความเข้าใจสิ่งเหล่านี้ จะทำให้เราออกแบบทั้งตัวผลิตภัณฑ์หรือการบริการบางอย่างได้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้งานได้ตรงจุด ฉะนั้นการทำความเข้าใจใน UX เรียกได้ว่าเป็นอีกศาสตร์แห่งการทำความเข้าใจ ที่นักออกแบบหรือผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ เพราะมันจะส่งผลไปถึงผลประกอบการของธุรกิจสินค้าและบริการเหล่านั้นด้วย

    ประโยชน์ของ Use Experience Design

     1. ทำให้เว็บไซต์ใช้งานง่าย

    ถ้าเราเคยเข้าเว็บไซต์ แล้วรู้สึกว่าใช้งานยาก หาสิ่งที่ต้องการไม่เจอ หรืองงกับลำดับขั้นตอนในการเข้าไปสู่หน้าเพจต่าง ๆ ในเว็บไซต์ แม้เว็บไซต์จะมีความสวยงามหรือไม่มีปัญหา เช่น ช้าหรือค้าง แต่กลับรู้สึกขัดใจเวลาใช้งาน แปลว่าเว็บไซต์นั้นไม่ได้ออกแบบ UX มาให้ดีนั่นเอง เพราะถ้าเว็บไซต์มีการออกแบบ UX ที่ดี ผู้ใช้งานก็จะรู้สึกสะดวก ใช้งานง่าย มีประสบการณ์การใช้งานที่ดีต่อเว็บไซต์

     2. ทำให้เข้าถึงข้อมูลได้ง่าย

    การออกแบบ UX จะช่วยจัดวางตำแหน่งช่องค้นหาข้อมูล หรือ Search Engine ได้ง่ายต่อการมองเห็น เช่น ด้านบนของเว็บไซต์ ทำให้ผู้ใช้ใช้งานได้ดีขึ้น

     3. ทำให้เว็บไซต์มีความสวยงาม

    ถ้าเว็บไซต์มีการออกแบบ UX โดยไม่สนใจ UI หน้าเว็บไซต์ก็จะมีรูปแบบที่ไม่สวยงาม ไม่น่าสนใจ หรืออาจส่งผลต่อการอ่านเนื้อหา เช่น ตัวอักษรอ่านยาก มีขนาดเล็กเกินไป เป็นต้น

     4. ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้

    เมื่อผู้ใช้มีประสบการณ์การใช้งานที่ดี ผู้ใช้ก็อยากกลับมาใช้งานเว็บไซต์ของเราอีก จุดนี้จะทำให้เราได้เปรียบเว็บไซต์อื่นๆ ที่ไม่ได้ออกแบบ UX และ UI

     5. ทำให้เว็บไซต์ดูน่าเชื่อถือ

    เว็บไซต์ที่มีการออกแบบทั้ง UX และ UI ย่อมออกมาดูดี ใช้งานง่าย และบ่งบอกถึงความใส่ใจต่อสินค้าและบริการ รวมถึงผู้ใช้งาน ทำให้ดูมีความน่าเชื่อถือเพิ่มขึ้น

    องค์กรประกอบสำคัญของการทำ Use Experience Design 


    องค์กรประกอบสำคัญของการทำ Use Experience Design มีด้วยกันอยู่ 5 องค์ประกอบ คือ Strategy, Scope, Structure, Skeleton และ Surface ซึ่ง 5 องค์ประกอบนี้นั้น จะแบ่งเป็น Layer แยกออกจากกันอย่างชัดเจน โดยสังเกตุจากข้างล่างสุดขึ้นไปข้างบน ก็ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่ง Framework ที่เปรียบได้กับขั้นตอนสำคัญที่ทำให้เรานั้นสามารถเห็นภาพรวมจากไอเดียจนไปสู่ขั้นตอนการทำผลิตภัณฑ์หรือบริการว่าเรามีขั้นตอน หรือวิธีการทำใด ๆ บ้าง ดังนี้

     1. Strategy

    จะเข้ามาช่วยทำให้เราได้คำตอบเกี่ยวกับธุรกิจ และผลิตภัณฑ์หรือบริการที่กำลังทำอยู่ได้เร็วขึ้นผ่านขั้นตอนที่เรียบง่าย เพื่อให้เราเลือกทำเฉพาะสิ่งที่สำคัญเท่านั้น ซึ่งจะทำให้เราเห็นภาพรวมนั้นกว้างขึ้น ช่วยให้คิดงานที่เป็นเชิงกลยุทธ์​ (strategy) สามารถพูดคุยให้ความเห็นที่มีประโยชน์กับคนในทีมในแง่ของธุรกิจ จากมุมมองของนักออกแบบ ซึ่งองค์ประกอบแรกนี้นั้นจะชี้ให้เราเห็นได้ว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการที่เราจะทำในอนาคตมีวัตถุประสงค์เป็นอย่างไร

     2. Scope

    ก็คือขอบเขตว่าใน Strategy นี้เราจะจัดวาง Feature หรือสร้างเนื้อหาคอนเทนต์อะไรให้อยู่ในผลิตภัณฑ์หรือบริการที่กำลังออกแบบอยู่บ้าง โดย Feature ที่ทำมีหน้าตาเป็นยังไง Interaction ต่าง ๆ กดแล้วเกิดอะไรขึ้น ไปจนถึง Case ต่าง ๆ ที่จะต้องรองรับการพัฒนา ก็จะสามารถใช้โอกาสนี้ในการสอบถาม และตรวจเช็คว่ามีอะไรที่นักออกแบบพลาดไปจนอาจจะทำให้ Sprint ไม่ราบรื่นได้ ไปจนถึงการประเมินความยากง่ายในการทำ และย่อย Task ออกมา หรือต่อรองลด Scope เพื่อให้ Feature สามารถออกได้ไวขึ้น

     3. Structure

    เป็นขั้นตอนตรงกลางระหว่าง Strategy กับ Surface ซึ่งขั้นตอนนี้จะเป็นขั้นตอนที่เราจะพยายามมองหาว่าผู้ใช้งานต้องการผลิตภัณฑ์หรือบริการแบบไหน การออกแบบ และระบบจะทำงานอย่างไรเมื่อผู้ใช้งานมีการใช้งานตอบโต้กับผลิตภัณฑ์หรือบริการของเรา โดยสร้างออกมาเป็น Wireframe หรือ Interface Beta

     4. Skeleton

    เรียกได้ว่าเป็น Layout of Product ทำให้เราเริ่มเห็นการออกแบบของเราออกมาได้ชัดเจนเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น

     5. Surface

    ที่มองได้ว่าเป็นชั้นสุดท้ายในการทำ UX Design ที่เราสามารถเอาไว้นำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการที่เป็นรูปเป็นร่างออกมาแล้วให้กับผู้ใช้งาน ซึ่งสามารถที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับตัวผลิตภัณฑ์หรือบริการของเราได้แล้วนั่นเอง

    ตัวอย่างการทำ Use Experience Design บนเว็บไซต์

    ● Visual Design ซึ่งคือการออกแบบหน้าตาเว็บไซต์ ด้วยเทคโนโลยีแบบต่าง ๆ เพื่อตกแต่งให้เว็บไซต์มีความน่าสนใจ ดึงดูดสายตาผู้ใช้งาน

    ● Usability คือการออกแบบให้เว็บไซต์นั้นสามารถใช้งานได้ง่าย เช่น สมัครเข้าใช้งานอย่างไม่สับสน การเด้งหน้าต่างใหม่เพื่อกดปุ่มอะไรบางอย่างดูเป็นเหตุเป็นผลกัน ลดโอกาสความผิดพลาดได้

    ● Interaction Design คือรูปแบบการตอบสนองต่อการใช้งาน เช่น กดปุ่มนี้ แล้วจะดึงไปที่หน้าไหนของเว็บไซต์

    ● Accessibility หมายถึงการรองรับการเข้าถึงเว็บไซต์เพื่อใช้งานได้ อย่างไม่มีอุปสรรค เช่น ใช้สีฟอนต์ที่อ่านงาน มีคำอธิบายแนะนำการใช้งาน หรือ Tutorial

    โดยส่วนมาก UX จะเน้นออกแบบให้ผู้ใช้เกิดความรู้สึกในแบบที่ผลิตภัณฑ์อยากให้เกิด ตัวอย่างธุรกิจที่ทำ Use Experience Design เช่น

    ● Netflix

    อยากให้ผู้ใช้งานใช้เวลาอยู่บนแอปพลิเคชันนาน ๆ จึงสร้างระบบแนะนำหนัง/ซีรีส์ที่ผู้ใช้งานสนใจ (หลังจากที่ได้เรียนรู้จากพฤติกรรมของผู้ใช้) ดังนั้นเมื่อผู้ใช้เห็นว่า Netflix แนะนำซีรีส์ที่มีนักแสดงที่พวกเขาชอบ หรือสไตล์หนังที่โดนใจใช่เลย ก็จะทำให้พวกเขากดดูซีรีส์เรื่องนั้น และใช้เวลาอยู่บนแอปพลิเคชันนั้นได้นานขึ้น

    ● เว็บไซต์ E-Commerce

    อยากให้ผู้ใช้กดซื้อสินค้าได้ทันที มีการจ่ายเงินง่าย จึงออกแบบระบบจ่ายเงินที่กดคลิกเพียงปุ่มเดียว ก็สามารถตัดเงินได้ทันที โดยที่ไม่ต้องกรอกข้อมูลอะไรเยอะแยะ เพราะถ้าผู้ใช้ได้รับประสบการณ์ที่ไม่ดี รู้สึกลำบากในการจ่ายเงิน โอกาสที่เขาจะไม่ซื้อสินค้าก็จะมีสูงนั่นเอง


    สรุป

    หากลองเปรียบเทียบให้เว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันเป็นบ้านหลังหนึ่ง UX จะเป็นเหมือนแปลนบ้าน สำหรับการจัด Layout ห้องต่าง ๆ ส่วน UI จะเปรียบเสมือนเป็นการตกแต่งภายในบ้าน จัดอย่างไรให้บ้านมีความสวยงาม เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยหรือแขกเข้ามาที่บ้านแล้วรู้สึกดีที่สุด เช่นเดียวกันกับการทำธุรกิจออนไลน์ UX/UI คือสิ่งที่คุณควรให้ความสำคัญ เพราะหากคุณไม่ให้ความสำคัญกับผู้ใช้งานแล้วพวกเขาได้รับประสบการณ์ที่ไม่ดี ไม่ได้รับคำตอบที่ต้องการ พวกเขาก็เลือกที่จะเดินจากธุรกิจคุณไปเองโดยอัตโนมัติ โดยที่ยังไม่ได้สร้าง Conversion ให้กับธุรกิจของคุณเลย

    อ้างอิง

    https://www.interaction-design.org/literature/topics/ux-design

    https://www.uxdesigninstitute.com/blog/5-elements-of-ux-design/

    https://www.productplan.com/glossary/user-experience/

    https://careerfoundry.com/en/blog/ux-design/what-is-user-experience-ux-design-everything-you-need-to-know-to-get-started/

    MORE ARTICLES

    0 Comment