เมื่อโลกก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ ส่งผลให้ระบบสารสนเทศ และการสื่อสารต่าง ๆ พัฒนาตามไปมาก ทำให้ปริมาณข้อมูลที่แต่ละองค์กรต้องจัดเก็บเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล ซึ่งการนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์และประมวลผล ก็จะสร้างประโยชน์อย่างมากให้กับองค์กรดังกล่าว จึงเกิด Big Data ขึ้นมา ที่จะทำให้เกิดการบริหาร และจัดการข้อมูลให้ได้ประโยชน์สูงสุดอย่างมีประสิทธิภาพขึ้นมานั่นเอง
Big Data คืออะไร ทำความรู้จักกับชุดข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อโลกเข้าสู่ยุคดิจิทัล
Big Data คือ จำนวนข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ ที่มีมากมายมหาศาล ชนิดที่เรียกว่า ซอฟต์แวร์ หรือฮาร์ดแวร์ธรรมดานั้นไม่สามารถรองรับข้อมูลเหล่านี้ได้ โดยส่วนใหญ่แล้ว ข้อมูลเหล่านี้มักจะถูกใช้ในเชิงธุรกิจ เป็นข้อมูลที่ถูกเก็บไว้ในองค์กร หรือบริษัท เช่น ข้อมูลบริษัท ข้อมูลสำคัญของลูกค้า วิดีโอ ไฟล์รูปภาพ หรือไฟล์เอกสารต่าง ๆ ฯลฯ เป็นต้น
หมวดหมู่ของ Big Data มีอะไรบ้าง
- ข้อมูลที่มีโครงสร้างชัดเจน (Structured Data)
หมายถึง ชุดข้อมูลที่มีการจัดเรียงโครงสร้างอย่างเป็นระเบียบ มีความชัดเจน หรือระบุได้ด้วยตัวเลข พร้อมใช้งานได้ทันที เช่น จำนวนการซื้อขายกับลูกค้า เปอร์เซ็นต์ความเคลื่อนไหวภายในตลาดหุ้น ฯลฯ
- ข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Data)
หมายถึง ชุดข้อมูลที่มีโครงสร้างไม่ชัดเจน หรือไม่สามารถระบุความแน่นอนของข้อมูลนั้น ๆ ได้ ทำให้ยังไม่สามารถประมวลผลเพื่อนำไปใช้ได้ทันที ยกตัวอย่างเช่น บทสนทนาโต้ตอบกับลูกค้าทาง Social Media
- ข้อมูลกึ่งมีโครงสร้าง (Semi-Structured Data)
หมายถึง ชุดข้อมูลที่มีโครงสร้างระดับหนึ่งแต่ยังไม่สมบูรณ์ เช่น สเตตัสใน Social Media เป็นข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง แต่ในกรณีที่มี Hashtag (#) เข้ามาช่วยในการจัดหมวดหมู่ จะทำให้ข้อมูลมีความเป็นระเบียบขึ้นมาเล็กน้อย
5V หัวใจหลักที่เป็นคุณลักษณะสำคัญของ Big Data
1. ข้อมูลที่มีปริมาณมาก (Volume)
หมายถึง มีปริมาณข้อมูลอยู่มาก และมีขนาดใหญ่ สามารถนับรวมได้ทั้งข้อมูลแบบออนไลน์ และแบบออฟไลน์ โดยข้อมูลต้องมีขนาดใหญ่เกินกว่าระดับ Terabyte
ยกตัวอย่างเช่น การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของประชากรทั่วโลก ที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกปี ซึ่งแต่ละคนมีพฤติกรรมการใช้งานข้อมูลที่หลากหลาย ทำให้ปริมาณของข้อมูลที่เกิดขึ้นมีจำนวนมหาศาล
2. ข้อมูลที่มีความหลากหลาย (Variety)
หมายถึง ข้อมูลแต่ละชนิดนั้นมีความหลากหลาย รวมกันทั้งรูปแบบมีโครงสร้าง ไม่มีโครงสร้าง และกึ่งโครงสร้าง เนื่องจากการใช้งานของ Social Media User นั้นไม่ได้เป็นระเบียบแบบแผนตายตัว ทำให้นอกจากมีปริมาณข้อมูลเกิดขึ้นอย่างมหาศาลแล้ว ข้อมูลเหล่านั้นยังเต็มไปด้วยความหลากหลายและซับซ้อนอีกด้วย
ซึ่งจะยกตัวอย่างผ่านพฤติกรรมของ Social Media User ที่ในแต่ละวันสามารถสร้างชุดข้อมูลได้หลากหลาย เช่น การคอมเมนต์ลงในโพสต์ทาง Facebook จัดเป็นข้อมูลแบบไม่มีโครงสร้าง เพราะไม่สามารถคาดเดาคำตอบ และโพสต์ที่เขาสนใจจากคอมเมนต์ได้ หรือการโพสต์ลงบน Twitter ที่สามารถจัด Category ของแต่ละโพสต์ผ่าน Hashtag ได้ แต่ก็ไม่สามารถระบุโครงสร้างหรือความหมายของ Hashtag นั้นได้อย่างชัดเจน นี่จึงจัดเป็นข้อมูลกึ่งโครงสร้าง ส่วนข้อมูลที่ได้จากการตอบแบบสอบถามผ่าน Google Form ที่มีคำถาม และคำตอบให้เลือกอย่างชัดเจน ข้อมูลเหล่านั้นจึงสามารถนำไปใช้ต่อได้เลยทันที จะจัดว่าเป็นชุดข้อมูลแบบมีโครงสร้าง
3. ข้อมูลที่มีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว (Velocity)
หมายถึง ข้อมูลที่มีการเพิ่มขึ้น และเกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดข้อมูลแบบ Real-time มากมาย อย่างเช่น ข้อมูลการจราจร ซึ่ง Google Map ก็ได้ใช้ประโยชน์จากการเข้าถึง GPS ของผู้ที่สัญจรไปมาบนท้องถนน เพื่อวิเคราะห์ และนำเสนอเส้นทางที่การจราจรคล่องตัวที่สุดให้กับผู้ใช้งาน
4. ข้อมูลที่สร้างประโยชน์นำไปใช้ในทางธุรกิจได้ (Value)
หมายถึง ข้อมูลที่มีคุณค่าต่อการนำไปใช้งาน สามารถก่อให้เกิดประโยชน์ทางธุรกิจได้เป็นอย่างดี ยกตัวอย่างเช่น พฤติกรรมการค้นหาข้อมูลผ่าน Google ที่ทำให้สามารถทราบถึงความสนใจของผู้คนในช่วงเวลานั้น ๆ ได้
5. ข้อมูลต้องมีความถูกต้องชัดเจน (Veracity)
เนื่องจาก Big Data นั้นรวบรวมข้อมูลไว้เป็นจำนวนมหาศาล เพราะฉะนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือความถูกต้อง และชัดเจนของข้อมูล ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญ ที่จะสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาประมวลผล เพื่อการใช้งานต่อในอนาคตได้
วิธีจัดการ Big Data สำหรับภาคธุรกิจ
1. กำหนดเป้าหมายและกลยุทธ์การจัดการ Big Data
เริ่มต้นจากการกำหนดเป้าหมายทางธุรกิจ (Business Objective) ก่อนว่า ในขณะนี้ธุรกิจต้องการอะไร เพิ่มยอดขาย ลดค่าใช้จ่าย เข้าใจลูกค้า หากลุ่มเป้าหมายใหม่ ฯลฯ จากนั้นจึงตั้งคำถามที่ต้องการตอบ แล้วกำหนดว่าต้องการใช้ข้อมูลอะไรบ้าง และใช้เพื่ออะไร
2. กำหนดแหล่งที่มาข้อมูล (Data Sources)
ตีโจทย์จากเป้าหมาย และกลยุทธ์ที่วางไว้ออกมาว่า สิ่งที่ต้องการตอบหรือใช้นั้น ต้องการข้อมูลจากแหล่งข้อมูลใดบ้าง เช่น ข้อมูลยอดขาย ข้อมูลจากโซเชียลมีเดีย ข้อมูลพฤติกรรมลูกค้าบนเว็บไซต์ ข้อมูลเชิงบริบท (Contextual Data) ที่เกิดขึ้น ต้องดึงข้อมูลจากแหล่งไหน ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลเปิดต่าง ๆ ข้อมูลจากร้านค้าตัวแทนจำหน่าย ข้อมูลจากภาครัฐ ข้อมูลการประสิทธิภาพจากสายผลิต ฯลฯ
3. นึกถึง Use Case ในการใช้งานข้อมูล
จากข้อมูลที่มีทั้งหมด ธุรกิจสามารถนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง และจะใช้อย่างไร พยายามนึกถึงกรณีใช้งานจริง (Use Case) โดยที่กรณีที่ใช้งาน ควรต้องสอดคล้องกับเป้าหมายทางธุรกิจ และแหล่งที่มาข้อมูลที่กำหนดไว้ก่อนแล้ว เพื่อสอบถามดูอีกครั้งว่า ข้อมูลที่ใช้ และวิธีที่จะใช้จัดการกับข้อมูล สามารถตอบจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ได้หรือไม่
4. เลือกเทคโนโลยีจัดการ Big Data
Big Data Analytic Tool เครื่องมือจัดการ Big Data อาจมีหลากหลายเครื่องมือด้วยกัน หรือแยกระบบการทำงาน อย่างไรก็ตาม ธุรกิจควรมีเครื่องมือที่ช่วยทั้งติดตาม เก็บข้อมูล ดึงข้อมูล ประมวลผล และวิเคราะห์ รวมไปถึงการนำเสนอรายงานที่เข้าใจง่าย หรือจัดทำ Data Visualization ให้พร้อมสำหรับการใช้ประโยชน์ต่าง ๆ
ซึ่งเครื่องมือจัดการกับ Big Data ที่ดี ควรทำงานร่วมกับเครื่องมืออื่น ๆ ได้ เช่น Marketing Technology และสามารถชี้ข้อมูลที่น่าสนใจ เปรียบเทียบข้อมูล นำเสนอรูปแบบของข้อมูลได้ทันที
5. ดำเนินการและตัดสินใจด้วย Big Data
การที่ธุรกิจวางแผนการใช้ Big Data อย่างเป็นระบบ และเข้าใจ Use Case ในการใช้ข้อมูลเป็นอย่างดี จะนำไปสู่การวิเคราะห์ และการตัดสินใจที่หนักแน่นจากการมีข้อมูลอยู่ในมือ (Data-Driven Decision) มากกว่าการใช้เพียงสัญชาตญาณเท่านั้น ธุรกิจก็จะมีความได้เปรียบในการทำธุรกิจมากขึ้น รู้จักลูกค้า และสามารถใช้ข้อมูลมาทำการตลาดทั้งการทำ Personlized Marketing, Marketing Automation, Contextual Marketing และประโยชน์ในด้านอื่น ๆ อีกมากมาย
สรุป
Big Data เป็นเทคโนโลยีที่มีประโยชน์ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนระดับประเทศ การวางแผนธุรกิจในองค์กร การวางแผนด้านการศึกษา การวางแผนด้านการแพทย์ และในด้านอื่น ๆ อีกหลากหลายด้าน ซึ่งถึงแม้ว่า Big Data จะมีประโยชน์อยู่มาก แต่หากขาดการสนับสนุนที่ดีจากองค์กรก็อาจทำให้ไม่ประสบความสำเร็จได้
ซึ่ง Hocco เป็นบริษัทซอฟต์แวร์เฮาส์ที่ให้บริการพัฒนาซอฟต์แวร์และดิจิทัลโซลูชั่น ที่สามารถทำได้ทั้งเว็บไซต์ แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ แอปพลิเคชันบนมือถือ เกมและ Interactive Experience บนช่องทางดิจิทัล ผู้เชี่ยวชาญด้าน IT และนักพัฒนาซอฟต์แวร์ผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัลโซลูชั่นของเรา ที่สามารถปรับแต่งโซลูชันแบบเฉพาะเจาะจง เพื่อสนับสนุนให้ธุรกิจของคุณดำเนินไปได้อย่างไม่สะดุด
อ้างอิง
https://1stcraft.com/what-is-big-data/
https://www.mandalasystem.com/blog/th/45/big-data-18082020
https://www.aware.co.th/big-data-คืออะไร/
http://www.dla.go.th/upload/document/type14/2015/11/15991_1_1448854837750.pdf?time=1674172301521
https://katalyst.kasikornbank.com/th/blog/Pages/what-is-big-data.html
https://www.sas.com/th_th/insights/big-data/what-is-big-data.html
https://wisesight.com/news/blog/what-is-big-data/
https://1stcraft.com/how-to-apply-big-data-to-your-business/
0 Comment