สาเหตุที่ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล ไม่สามารถจัดการฐานข้อมูลทุกอย่างในองค์กร ได้อย่างครอบคลุมด้วยซอฟต์แวร์เดียวนั้น เพราะฐานข้อมูลหนึ่ง แทบจะไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของการใช้งานที่แตกต่างกันในหลาย ๆ กรณีได้ ยิ่งในยุคปัจจุบันที่องค์กรต่าง ๆ มักให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์กำลังสร้างแอปพลิเคชัน หรือโปรแกรมที่มีการประมวลผลแบบการกระจายที่สูงขึ้น โดยใช้ฐานข้อมูลจำนวนมากที่สร้างขึ้นตามวัตถุประสงค์ที่พวกเขาต้องการ ทำให้มีการแบ่งซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลออกไปตามวัตถุประสงค์ จะทำให้ซอฟต์แวร์เหล่านั้นทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และเกิดข้อผิดพลาดได้น้อยกว่านั่นเอง
ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลในปัจจุบันมีอะไรบ้าง
เพราะซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลถูกสร้างขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ที่จำเพาะเจาะจง จึงทำให้มีรูปแบบของซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลอยู่หลากหลายประเภท ซึ่งสามารถจัดได้อย่างคร่าว ๆ ดังนี้
1. Relational Database
Relational Database เป็นการเก็บข้อมูลในรูปของตาราง (Table) ซึ่งในแต่ละตารางแบ่งออกเป็นแถว ๆ และในแต่ละแถวจะแบ่งเป็นคอลัมน์ (Column) โดยในการเชื่อมโยงกันระหว่างข้อมูลในตารางต่าง ๆ จะ เชื่อมโยงโดยใช้การอ้างอิงจากข้อมูลในคอลัมน์ที่กำหนดไว้
2. Key-Value Database
Key-Value Database เป็นการเก็บข้อมูลขนาดเล็ก โดยประกอบด้วย Key และ Value ลักษณะคล้ายกับผลลัพธ์ที่ได้จากการทำแมปรีดิวซ์ (MapReduce) ใช้ในการเก็บข้อมูลที่เป็นแคช (Cache) จาก Relational Database หรือเก็บข้อมูลที่ดึงมาได้จาก IoT (Internet of Things) ก็ได้เช่นกัน
3. Document Database
เป็นการเก็บข้อมูลในลักษณะของไฟล์เอกสาร ซึ่งภายในจะมีแท็ก (Tag) ระบุค่าต่าง ๆ เอาไว้ โดยหนึ่งแถวหรือเรคคอร์ด (Record) ใน Relational Database จะเทียบได้กับไฟล์เอกสาร 1 ไฟล์ และแท็กต่าง ๆ จะเทียบได้กับคอลัมน์หรือฟิลด์ใน Relational Database ซึ่งข้อดีของการเก็บข้อมูลแบบนี้ คือฟิลด์ในเอกสารไม่จำเป็นต้องมีจำนวนเท่ากันได้
4. Graph Database
Graph Database คือ การเก็บข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันในรูปแบบของเครือข่ายหรือกราฟ ทำให้การเก็บข้อมูลในลักษณะของกราฟทำการประมวลผลได้รวดเร็วขึ้น
5. Column-Oriented Database
โดยทั่วไปการเก็บข้อมูลใน Relational Database จะเป็นลักษณะของแถว (Row-Oriented) หรือก็คือการเก็บข้อมูลในแต่ละแถวเรียงต่อกันในดิสก์ ทำให้การดึงข้อมูลออกมาทั้งตารางหรือบางเรคคอร์ดทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ถ้านำมาใช้ในการคำนวณค่าทางสถิติ เช่น การหาค่าเฉลี่ย (Average) ของคอลัมน์จะทำงานได้ช้าลง จึงได้มีการคิดค้น Column-Oriented Database ขึ้นมา โดยการเก็บข้อมูลจะเก็บเรียงเป็นคอลัมน์แทนที่จะเป็นแถว ทำให้เวลาต้องการคำนวณค่าของคอลัมน์ที่ต้องการใช้งาน ก็สามารถดึงข้อมูลที่เรียงต่อกันในดิสก์ได้เลย ซึ่งก็จะเร็วกว่าการเก็บแบบแถว ฐานข้อมูลแบบนี้ นิยมใช้ในการทำธุรกิจอัจฉริยะ เพราะสามารถคำนวนค่าทางสถิติไปใส่ไว้ในคลังข้อมูลทำได้อย่างรวดเร็ว
6. In-Memory Database
In-Memory Database เป็นการจัดเก็บข้อมูลทั้งหมดไว้ในหน่วยความจำ ทำให้การเข้าถึงข้อมูลรวดเร็วกว่าค่อนข้างมาก เพราะหน่วยความจำมีการคำนวนซับซ้อนน้อยกว่า HDD
7. Search Database
Search Database จะมีลักษณะคล้าย Document Database แต่มีความต่างกันตรงที่ Document Database จะ Assign Index แล้วจึง Insert Document บน Index นั้น ในขณะที่ Search Database จะทำตรงกันข้ามนั้นก็คือหลังจาก Insert Document เข้าไปแล้วตัว Search Database จะทำการ Generate Index ขึ้นมาให้จากคำสำคัญ หรือ Term ต่าง ๆ (Inverted Index) เหมือนกับหน้า Appendix ในหนังสือที่เราไว้ใช้ค้นหา Term หรือ Keyword สำคัญต่าง ๆ ว่าอยู่หน้าใดของหนังสือบ้าง
ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลที่ธุรกิจต่าง ๆ นิยมใช้งาน
ในปัจจุบัน ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลได้ถูกสร้างขึ้นมาเป็นจำนวนมาก และมีคุณลักษณะที่แตกต่างกันไปตามแต่ละความต้องการ และวัตถุประสงค์ที่จะนำไปใช้งาน โดยเราจะหยิบยกซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล ที่ธุรกิจทั่วโลกนิยมใช้งานในองค์กรของตัวเอง มานำเสนอให้รู้จักกัน 5 ตัว ได้แก่
SolarWinds Database Performance Analyzer
SolarWinds Database Performance Analyzer เป็นเครื่องมือเพิ่มประสิทธิภาพ Query ที่สร้างขึ้นสำหรับการตรวจสอบประสิทธิภาพและปรับแต่งแบบสอบถาม ด้วยเครื่องมือนี้ เราสามารถตรวจสอบประสิทธิภาพของ SQL เครื่องไคลเอนต์ ผู้ใช้ และการประยุกต์ใช้งานผ่านแผงควบคุม ซึ่งสามารถดูกราฟของเอนทิตีเหล่านี้เพื่อค้นหาแนวโน้มประสิทธิภาพที่ใหญ่ขึ้นได้
DbVisualizer
DbVisualizer เป็นโปรแกรมสำหรับดูแลฐานข้อมูลรูปแบบต่าง ๆ ขององค์กรธุรกิจ เหมาะสำหรับนักพัฒนาโปรแกรม ผู้ดูแลระบบฐานข้อมูล และนักวิเคราะห์ข้อมูล รองรับการทำงานบนระบบปฏิบัติการหลากหลาย ทั้ง Windows macOS และ Linux ซึ่งรองรับการทำงานกับประเภทฐานข้อมูลที่หลากหลาย
Oracle RDBMS
Oracle RDBMS เป็นซอฟต์แวร์สำหรับบริหารจัดการฐานข้อมูล ซึ่งถูกออกแบบมาสำหรับหน่วยงาน หรือองค์กรขนาดใหญ่ที่ต้องการระบบจัดการฐานข้อมูลที่ทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ด้วยความเสถียรและมีประสิทธิภาพการใช้งานที่ได้รับการรับรองมาอย่างยาวนาน รวมถึงมีฟังก์ชันการทำงานที่ออกแบบมาอย่างครบถ้วน และตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่หลากหลายได้
IBM DB2
IBM DB2 เป็นระบบจัดการคลังข้อมูลที่เป็น Common SQL Engine จึงทำให้องค์กรสามารถเลือกที่จะย้ายระบบคลังข้อมูลไปยังคลาวด์ โดยสามารถเก็บข้อมูลบางส่วนไว้บนระบบจัดการคลังข้อมูลแบบ on premise ได้ เพราะสามารถเชื่อมโยงข้อมูลที่อยู่ในระบบจัดการคลังข้อมูลบนคลาวด์ และแบบ on premise เข้าด้วยกัน โดยใช้ความสามารถในการทำ Data Virtualization ที่มีอยู่ในระบบจัดการฐานข้อมูล และระบบจัดการคลังข้อมูลทุกตัวของ IBM
Microsoft Access
Microsoft Access เป็นโปรแกรมสำหรับจัดการฐานข้อมูล ที่มีเครื่องมือในการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ได้ สามารถสร้างโปรแกรมประยุกต์ สำหรับใช้จัดเก็บและจัดการข้อมูลได้อย่างเป็นระบบ โดย Microsoft Access สามารถสร้าง Form เพื่อเป็นส่วนติดต่อกับผู้ใช้ และสะดวกในการป้อนเข้าข้อมูลไปยัง Table รวมถึงยังสามารถสร้างปุ่มบน Form เพื่อสั่งให้เปิด Form หรือ Report ที่ต้องการได้ นอกจากนั้น ยังสามารถทำการเขียนโปรแกรมเพื่อสั่งการควบคุมได้ด้วย Macro หรือ VBA ได้อีกด้วย
สรุป
0 Comment