รู้หรือไม่ ว่าจริงๆ แล้ว การจะพัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นมาสักตัวนั้นมีความซับซ้อนและยุ่งยากค่อนข้างหลายกระบวนการเลยทีเดียว โดยเริ่มตั้งแต่ความต้องการของผู้ว่าจ้าง ความซับซ้อนของฟังก์ชันของระบบซอฟต์แวร์ ตลอดไปจนถึงขั้นตอนการทดสอบซอฟต์แวร์และเรื่องความปลอดภัยเพื่อป้องกันระบบให้พ้นจากการคุกคามทางไซเบอร์
เรียกได้ว่า ไม่ใช่เพียงแค่ เขียนโค้ดได้แล้วจะได้ซอฟต์แวร์ดีๆ สักชิ้นมา แต่ต้องการวางแผน ออกแบบ ทดสอบ และปรับปรุงระบบ ซึ่งทั้งหมดที่ผมได้กล่าวไปนั้น เรียกว่า SDLC (Software Development Life Cycle) หรือ วงจรการพัฒนาซอฟต์แวร์ นั้นเองครับ และบทความนี้ผมจะพาทุกคนไปรู้จักกับ SDLC (Software Development Life Cycle) คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร
SDLC (Software Development Life Cycle) คือ
SDLC (Software Development Life Cycle) หรือ กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ เป็นแนวทางที่ช่วยให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์ทั้งหลายสามารถทำงานได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของไอเดียไปจนถึงการส่งมอบให้ผู้ใช้จริง
ถ้าให้ผมอธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ SDLC ก็เปรียบเสมือนกับการสร้างบ้านหลังหนึ่ง ถ้าคุณเริ่มสร้างโดยไม่มีแผน อาจจบลงด้วยบ้านที่ไม่แข็งแรง หรืออาจต้องรื้อทำใหม่ตั้งแต่ต้น ดังนั้น SDLC จึงเปรียบเสมือนพิมพ์เขียวที่ช่วยให้ซอฟต์แวร์ออกมาใช้งานได้ดี และตอบโจทย์การใช้งานของ User มากที่สุด
ข้อดีและข้อจำกัดของ SDLC
เหรียญมีสองด้านเสมอ แน่นอนว่า SDLC ก็มีทั้งข้อดีและข้อจำกัดบางประการ เช่น
ข้อดีของ SDLC
1. ช่วยให้โครงการมีทิศทางชัดเจน โดย SDLC จะช่วยกำหนดขั้นตอนการทำงานที่แน่นอน ทำให้ทีมพัฒนารู้ว่าต้องทำอะไรในแต่ละช่วง และลดความเสี่ยงของโครงการที่ทำไปเรื่อย ๆ โดยไม่มีเป้าหมาย
2. ลดความผิดพลาดในการพัฒนา การทำ SDLC ต้องมีการวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้ (Requirement Analysis) และออกแบบระบบก่อนเริ่มพัฒนาทำให้มีโอกาสน้อยที่จะต้องแก้ไขโค้ดจำนวนมากในภายหลัง
3. การจัดการโครงการง่ายขึ้น ผู้จัดการโครงการ (Project Manager) สามารถวางแผน ควบคุมงบประมาณ และกำหนดเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ SDLC เหมาะกับการทำงานเป็นทีมใหญ่ที่ต้องการความเป็นระบบ
4. ช่วยให้การทดสอบเป็นระบบ มีขั้นตอนการทดสอบ (Testing) ที่ชัดเจน ทำให้สามารถตรวจสอบและแก้ไขข้อผิดพลาดก่อนนำไปใช้งานจริง ลดปัญหาการปล่อยซอฟต์แวร์ที่มักมีการติดบั๊กมากจนต้องแก้ไขทีหลัง
5. การบำรุงรักษาง่ายขึ้น SDLC เป็นการพัฒนาเป็นขั้นตอนทำให้เอกสารชัดเจน สามารถดูย้อนหลังและอัปเดตซอฟต์แวร์ได้ง่าย
ข้อจำกัดของ SDLC
1. อาจใช้เวลานานเกินไป เนื่องจาก SDLC เป็นกระบวนการที่มีหลายขั้นตอน ต้องผ่านการวิเคราะห์ ออกแบบ ทดสอบ และตรวจสอบ ซึ่งอาจทำให้โครงการใช้เวลานานกว่าที่คาดไว้ จึงไม่เหมาะกับโครงการที่ต้องการส่งมอบงานอย่างรวดเร็ว เช่น Startup
2. ต้องมีการวางแผนที่แม่นยำ ถ้าขั้นตอนการวางแผนหรือการวิเคราะห์ความต้องการผิดพลาด อาจส่งผลกระทบต่อทุกขั้นตอนหลังจากนั้น
3. ขาดความยืดหยุ่นในบางโมเดล SDLC บางรูปแบบ เช่น Waterfall Model ไม่รองรับการเปลี่ยนแปลงระหว่างการพัฒนาได้ดี เพราะต้องทำแต่ละขั้นตอนให้เสร็จก่อนจึงไปขั้นตอนถัดไป
4. ใช้ทรัพยากรเยอะ ต้องใช้เวลาในการวางแผน ออกแบบ และทดสอบ ซึ่งต้องใช้ทรัพยากรทั้งคนและงบประมาณ
ทั้งนี้ SDLC เป็นกระบวนการที่ช่วยให้การพัฒนาซอฟต์แวร์มีระเบียบ ลดข้อผิดพลาด และจัดการโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ก็มีข้อจำกัดเรื่องเวลา ความยืดหยุ่น และทรัพยากรที่ต้องใช้
5 ประเภทของ SDLC
ปัจจุบัน SDLC มีหลายรูปแบบให้ทักพัฒนาซอฟต์แวร์สามารถเลือกใช้งานได้ตามความเหมาะสม โดยแต่ละโมเดลก็จะมีจุดเด่นและข้อจำกัดที่แตกต่างกันไป
1. Waterfall Model (โมเดลน้ำตก)
เป็นโมเดลแบบลำดับขั้น (Sequential Model) แต่ละขั้นตอนต้องเสร็จก่อนถึงจะไปยังขั้นตอนถัดไป และเมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการแล้ว จะย้อนกลับไปแก้ไขที่ขั้นตอนก่อนหน้าได้ยาก เหมาะสำหรับโครงการที่มีความต้องการชัดเจนตั้งแต่แรก และมีโอกาสเปลี่ยนแปลงน้อย หรือ โครงการที่ต้องการเอกสารครบถ้วน เช่น ซอฟต์แวร์ทางการแพทย์ หรือระบบธนาคาร (API Back)
ข้อดี
● ง่ายต่อการวางแผนและบริหารโครงการ
● ต้องมีเอกสารครบทุกขั้นตอน
● มั่นใจได้ว่าทุกขั้นตอนเสร็จก่อนเดินหน้าต่อ
ข้อจำกัด
● ไม่ยืดหยุ่น ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงต้องย้อนกลับไปทำใหม่
● ใช้เวลานานกว่าจะได้ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้จริง
2. V-Model (Verification and Validation Model)
เป็นการพัฒนาแบบ Waterfall แต่มีการทดสอบ (Testing) ควบคู่ไปกับการพัฒนาในแต่ละขั้นตอน ทำให้มีการตรวจสอบ (Verification) และการทดสอบ (Validation) อย่างเป็นระบบ SDLC โมเดลนี้เหมาะสำหรับ โครงการที่ต้องการคุณภาพสูง และมีการตรวจสอบบ่อย โครงการที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย เช่น ระบบป้องกันภัย ระบบควบคุมเครื่องบิน
ข้อดี
● ลดความผิดพลาดได้ดี เพราะมีการทดสอบทุกขั้นตอน
● เหมาะกับโครงการที่ต้องการความแม่นยำสูง
ข้อจำกัด
● ใช้เวลามาก เพราะต้องทดสอบทุกขั้นตอน
● ไม่เหมาะกับโครงการที่ต้องเปลี่ยนแปลงบ่อย
3. Agile Model (โมเดลแบบ Agile)
โมเดลนี้แบ่งงานออกเป็นรอบการพัฒนาเล็ก ๆ (Iteration) ที่เรียกว่า Sprint โดยเน้นการทำงานเป็นทีม การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และการรับฟัง Feedback จากลูกค้า เหมาะสำหรับโครงการที่มีความซับซ้อนและต้องการปรับเปลี่ยนบ่อย หรือ ธุรกิจ Startup หรือองค์กรที่ต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดเร็ว
ข้อดี
● ยืดหยุ่น สามารถปรับเปลี่ยนตาม Feedback ได้
● ส่งมอบซอฟต์แวร์เป็นระยะ ทำให้ผู้ใช้เห็นความคืบหน้า
ข้อจำกัด
● ต้องมีการสื่อสารที่ดีระหว่างทีมพัฒนาและลูกค้า
● ต้องใช้ทีมที่มีประสบการณ์ เพราะไม่มีโครงสร้างที่ตายตัว
4. Spiral Model (โมเดลก้นหอย)
เป็นการผสมผสานระหว่าง Waterfall และ Agile โดยมีการทำซ้ำ (Iteration) หลายรอบ โดยแต่ละรอบจะผ่าน 4 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ Planning , Risk Analysis , Engineering และ Evaluation เหมาะสำหรับโครงการที่มีขนาดใหญ่และซับซ้อน หรือ โครงการที่ต้องมีการวิเคราะห์ความเสี่ยงสูง เช่น ระบบความปลอดภัย
ข้อดี
● มีการวิเคราะห์ความเสี่ยง ช่วยลดข้อผิดพลาด
● ยืดหยุ่น สามารถปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์
ข้อจำกัด
● ใช้งบประมาณสูง เพราะต้องทำซ้ำหลายรอบ
● ไม่เหมาะกับโครงการขนาดเล็กที่มีงบจำกัด
5. RAD Model (Rapid Application Development)
เป็นโมเดลที่เน้นการพัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยใช้การสร้างต้นแบบ (Prototype) และรับ Feedback จากผู้ใช้ทันที ซึ่งเหมาะสำหรับโครงการที่ต้องการพัฒนาเร็ว เช่น แอปพลิเคชันมือถือ หรือ โครงการที่ต้องปรับเปลี่ยนตามตลาดตลอดเวลา
ข้อดี
● ลดเวลาการพัฒนา สามารถออกสู่ตลาดเร็ว
● ได้ Feedback จากลูกค้าเร็ว ทำให้ปรับปรุงได้ง่าย
ข้อจำกัด
● ต้องใช้ทีมงานที่มีประสบการณ์สูง
● ไม่เหมาะกับโครงการที่ต้องการเอกสารและโครงสร้างที่ชัดเจน
แชร์ 7 ขั้นตอนของ SDLC
กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ หรือ SDLC มักจะต้องผ่านขั้นตอนเหล่านี้ (อาจจะไม่ใช่ทุกโปรเจกต์) แต่ถือว่าเป็นส่วนใหญ่แล้วกันครับ โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. Planning
ขั้นตอนนี้เป็นจุดเริ่มต้นของทุกอย่าง ต้องตอบคำถามว่า "เราจะสร้างอะไร อยากได้อะไร แอปพลิเคชันแบบไหน เพื่ออะไร?" โดยวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า วางงบประมาณ และกำหนดระยะเวลาให้ชัดเจน ซึ่งถ้าไม่มีการวางแผนให้ชัดเจน ผมเคยเจอโครงการที่เริ่มต้นโดยไม่มีแผนชัดเจน พอทำไปเรื่อย ๆ ก็เกิด "ความต้องการใหม่" ที่ต้องย้อนกลับไปแก้ไขเยอะมาก ทำให้ขั้นตอนวางแผนเป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก
2. Requirement Analysis
ต้องศึกษาความต้องการของผู้ใช้ (User Requirement) ว่าต้องการฟีเจอร์อะไรบ้าง แล้วจึงเขียนเอกสาร SRS (Software Requirement Specification) เพื่อให้ทีมเข้าใจตรงกัน ทั้งนี้ถ้าลูกค้าไม่สามารถอธิบายสิ่งที่ต้องการได้ชัดเจน อาจจะใช้เทคนิคอย่างการทำ Workshop หรือ Wireframe มาช่วยเสริมเพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้นก็ได้ครับ
3. Design
ขั้นตอนนี้คือการวางโครงสร้างของซอฟต์แวร์ เช่น Database Design, System Architecture พร้อมทั้งเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสม เช่น จะใช้ Frontend Framework อะไร หรือ Backend ควรเป็นแบบไหน
4. Development
ทั้งจากที่วางแผนและไอเทมทุกอย่างพร้อมแล้ว ทีมพัฒนาจะเริ่มเขียนโค้ดตามที่ออกแบบไว้ โดยใช้เครื่องมือและแนวคิด เช่น Agile, Scrum เพื่อช่วยให้การพัฒนามีประสิทธิภาพ
5. Testing
ตรวจสอบว่าโปรแกรมทำงานได้ตามที่ออกแบบไว้หรือไม่ โดยใช้ Unit Testing, Integration Testing, System Testing เพื่อหาข้อผิดพลาด
6. Deployment
หากไม่ติด Bug และลูกค้าพึงพอใจกับงานแล้ว ก็สามารถส่งมอบซอฟต์แวร์ให้กับลูกค้าหรือเปิดให้ผู้ใช้จริงทั้งนี้อย่าลืมว่าต้องมีแผนสำรอง (Rollback Plan) เผื่อเกิดปัญหาหลัง Deploy ด้วย เพราะผมเคยมีเหตุการณ์ที่ระบบหลังบ้านล่มทันทีหลังปล่อยใช้งาน
7. Maintenance
เมื่อระบบเริ่มใช้งานจริง ต้องคอยดูแล แก้ไขข้อผิดพลาด รับ Feedback จากผู้ใช้งานจริง และอัปเดตให้ทันสมัยอยู่เสมอ
สรุป
SDLC เป็นกระบวนการที่ช่วยให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์สามารถทำงานได้ง่ายและมีระเบียบมากขึ้น และยังสามารถช่วยลดข้อผิดพลาด ทำให้ทีมงานสามารถทำงานได้ตามไทม์ไลน์ที่กำหนดไว้ และนอกจากนี้การทำ SDLC แล้ว สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันในการพัฒนาซอฟต์แวร์ คือ การสื่อสารและการทำงานเป็นทีม เพราะซอฟต์แวร์ที่ดีไม่ได้เกิดจากโค้ดที่สมบูรณ์แบบเท่านั้น แต่เกิดจากทีมที่มีความเข้าใจและร่วมมือกันพัฒนาให้ดีที่สุด
Hocco เราเป็นบริษัท Software House ที่พร้อมจะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจและองค์กรให้เติบโตได้อย่างมั่นคงในยุค Digital Tranformation โดยสามารถพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ที่ช่วยเพิ่มคุณภาพในการทำงาน ช่วยลดต้นทุน ประหยัดเวลาในการดำเนิน และลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น
โดยเรามีทีมผู้เชี่ยวชาญที่มากประสบการณ์จากทุกธุรกิจ พร้อมคอยให้คำปรึกษา นำเสนอ IT Solutionที่เหมาะสมกับองค์กรของคุณ และมีบริการ รับทำเว็บไซต์ รับเขียนโปรแกรม และพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ สนใจติดต่อได้ที่ E-mail : hello@hocco.co หรือโทร. 064-6166426 , 084-7332417
0 Comment