ยุคนี้สมัยนี้ไม่ว่าจะเป็นองค์กรไหน ๆ ต่างก็แข่งขันกันด้วยข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นเรื่องข้อมูลทางการตลาด ข้อมูลการใช้งาน ข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภค ทุกอย่างเริ่มมีการเก็บเป็นระบบฐานข้อมูล (Database System) กันทุกอย่าง นั่นทำให้ปริมาณข้อมูลในแต่ละวันที่เข้ามามีเป็นจำนวนมาก จึงทำให้แต่ละองค์กรพยายามเก็บมันให้เป็นระเบียบ จนก่อเกิดเป็นระบบ Data Center ขึ้นมา เพื่อให้สามารถเรียกใช้ได้อย่างรวดเร็วนั่นเอง
ระบบ Data Center คืออะไร ทำความรู้จักระบบสำคัญ ที่เกี่ยวข้องกับ IT เครือข่าย และการจัดเก็บข้อมูลทั้งหมด
ระบบ Data Center หรือระบบศูนย์ข้อมูล คือระบบที่ออกแบบมาเพื่อรองรับในเรื่องต่าง ๆ ของข้อมูลทางธุรกิจ เช่น Big Data และให้บริการต่าง ๆ ซึ่งระบบศูนย์ข้อมูลเหล่านี้ จะเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกที่รวมศูนย์การดำเนินงานไอที และอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกันขององค์กร เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดเก็บประมวลผล และเผยแพร่ข้อมูล รวมไปถึงแอปพลิเคชัน เนื่องจากมีทรัพย์สินที่สำคัญ และเป็นกรรมสิทธิ์มากที่สุดขององค์กร ทำให้ระบบศูนย์ข้อมูลมีความสำคัญต่อความต่อเนื่องของการดำเนินงานประจำวัน ดังนั้น ความปลอดภัย และความน่าเชื่อถือของระบบศูนย์ข้อมูล และข้อมูลที่อยู่ภายในศูนย์ข้อมูลจึงเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้น ๆ ขององค์กร
โดยในปัจจุบัน การสร้างศูนย์ข้อมูลหรือ Data Center นั้นใช่ว่าใครคิดจะทำก็สามารถทำได้ สิ่งนี้มีมาตรฐานสากลกำกับและรับรองเอาไว้ นั่นหมายความว่า จะมีบริษัทที่ทำธุรกิจนี้โดยเฉพาะ ซึ่งบริษัทที่จะรับหน้าที่เปิดให้บริการเป็นศูนย์ข้อมูล ก็จะต้องมีการผ่านการรับรองมาตรฐการดำเนินงานในระดับสากลเท่านั้น ถึงจะเปิดให้บริการได้นั่นเอง
มาตรฐานสำหรับ Data Center แบ่งออกเป็นอะไรบ้าง
ในปัจจุบัน มาตรฐานสำหรับ Data Center จะเรียกว่า Tier และแบ่งออกเป็น 4 ระดับ ดังนี้
Tier I หรือ Tier 1 (Basic Capacity)
สำหรับ Tier 1 เป็น Tier ที่ Basic ที่สุดของระบบศูนย์ข้อมูลความเสียหายและความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้น จะมีผลกระทบไปทั้งอุปกรณ์และระบบของศูนย์ข้อมูลทำให้ขณะ Maintenance ระบบ หรือซ่อมแซมอุปกรณ์ที่เสียหายต่าง ๆ ระบบศูนย์ข้อมูลเองก็จะได้รับผลกระทบไปด้วย
ระบบศูนย์ข้อมูลแบบนี้ไม่มีพื้นแบบยกที่ใช้ระบายอากาศ ไม่มีระบบจ่ายไฟฟ้าตัวสำรอง และไม่มีระบบจ่ายไฟฟ้าสำรองกรณี Power Supplies หรือ UPS ทำให้ทำงานไม่ได้
- Uptime 99.671%
- Maximum Downtime 1,729 นาที หรือ 28 ชั่วโมง 48 นาทีต่อปี
Tier II หรือ Tier 2 (Redundant Capacity)
สำหรับ Tier 2 เป็นเป็น Tier ที่มีอุปกรณ์สำรองบางส่วนในระบบไฟฟ้า ระบบระบายอากาศ และระบบทำความเย็นไม่ได้เป็นแบบ Fully Redundant เพราะไม่ครอบคลุมระบบทั้งหมด ข้อมูลข้างต้นคือสิ่งที่เพิ่มเติมเข้ามาหากเทียบกับ Tier 1
- Uptime 99.741%
- Maximum Downtime 1,361.3 นาที หรือ 22 ชั่วโมง 41 นาที 18 วินาทีต่อปี
Tier III หรือ Tier 3 (Concurrently maintenance DC)
สำหรับ Tier 3 เป็น Tier ที่รวมคุณสมบัติทั้งหมดของ Tier 1 และ Tier 2 แต่ในการซ่อมแซมอุปกรณ์ หรือ Maintenance จะไม่กระทบกับการทำงานของระบบศูนย์ข้อมูล หรือก็คือสามารถถอดอุปกรณ์แล้วเปลี่ยนใหม่ได้โดยไม่กระทบนั่นเอง
อุปกรณ์ IT ทั้งหมดในระบบศูนย์ข้อมูลจะได้รับไฟฟ้าจาก 2 แหล่งที่มี UPS ต่อเข้ากับแต่ละแหล่งแยกออกจากกันโดยสิ้นเชิง ซึ่ง UPS ไม่ได้มีแค่ตัวเดียว ทำให้สามารถเปลี่ยนได้โดยไม่กระทบการทำงานของ Server ระบบ Redundant ของการปรับอากาศก็เช่นกัน เมื่อมีตัวใดตัวหนึ่งเสีย อีกตัวจะทำงานทันที
Tier 3 ไม่ได้มีระบบที่มี 2 ชุดที่สำรองที่แยกกันโดยสมบูรณ์ เนื่องจากยังคงมีการใช้งานระบบบางจุดร่วมกัน เช่น อาจจะมีระบบไฟฟ้าจาก 2 แหล่งก็จริง แต่มีจุดที่ต้องรวบไปใช้งานร่วมกัน เช่น ระบบทำความเย็นมีแค่ 1 ชุดที่รับไฟฟ้าจาก 2 แหล่ง หากระบบทำความเย็นพังก็จะกระทบกับระบบศูนย์ข้อมูล เป็นต้น
- Uptime 99.982%
- Maximum Downtime 94.6 นาที หรือ 1 ชั่วโมง 34 นาที 36 วินาทีต่อปี
Tier IV หรือ Tier 4 (Fault Tolerance)
สำหรับ Tier 4 เป็น Tier สูงสุดของมาตรฐานศูนย์ระบบข้อมูลมีระบบที่เป็น Fully Redundant และมีอุปกรณ์ที่จำเป็นแยก 2 ชุดโดยชัดเจน หมายความว่า อุปกรณ์ IT ทั้งหมดจะได้รับไฟฟ้าจากแหล่งจ่าย 2 แหล่ง แยก Generator กัน มีระบบ UPS 2 ระบบและมีระบบปรับอากาศ 2 ระบบ อีกเช่นกัน ถ้ามีอุปกรณ์ตัวใดตัวหนึ่งเสีย ระบบจะยังคงทำงานได้เป็นปกติ การทำงานของ IT จะกระทบก็ต่อเมื่อระบบไฟฟ้าจาก 2 แหล่งเสียพร้อมกัน หรือระบบปรับอากาศเสียพร้อมกัน
- Uptime 99.995%
- Maximum Downtime 26.3 นาที หรือ 26 นาที 18 วินาทีต่อปี
ประโยชน์ของระบบ Data Center ต่อภาคธุรกิจ
- ช่วยในการเก็บข้อมูลปริมาณมหาศาลที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของตัวเอง ซึ่งมาจากทั้งผู้บริโภคเอง ภาวะตลาด และข่าวสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- ทำให้ข้อมูลทั้งหมดที่องค์กรมี ไม่กระจัดกระจายตัวกัน และสามารถค้นหาเพื่อนำกลับมาใช้ได้โดยง่าย
- ทำให้บุคลากรในองค์กรสามารถเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็นซึ่งบริษัท หรือองค์กรเก็บรวบรวมมาได้ โดยที่ไม่ต้องไปนั่งค้นหาและรวบรวมด้วยตนเองทั้งหมด
- ช่วยให้ภาคธุรกิจเห็นภาพรวมที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และนำมาวิเคราะห์ได้ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง
- สามารถนำ Big Data ที่มีไปวิเคราะห์กลยุทธ์ทางการตลาดที่จะมาเอาใจ และตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ตรงจุดมากขึ้น
สรุป
ระบบศูนย์ข้อมูล หรือระบบ Data Center นี้ ถึงแม้จะดูซับซ้อน แต่ทว่าก็เป็นสิ่งที่ช่วยทำให้แต่ละองค์กรนั้น สามารถจัดเก็บข้อมูลสำคัญที่มีการอัปเดตอยู่ตลอดเวลาได้อย่างเป็นระเบียบและไม่ตกหล่น และยังสามารถเรียกกลับมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งสำหรับองค์กรใดที่มีงบประมาณไม่เพียงพอต่อการจัดทำระบบดังกล่าว การเลือกเช่าระบบศูนย์ข้อมูลกับบริษัทที่ทำธุรกิจด้านนี้โดยเฉพาะก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งเช่นกัน และบริษัทเหล่านี้เองก็จำเป็นจะมาตรฐานสากลกำกับและรับรองเอาไว้อีกด้วย
แต่หากใครที่ต้องการสร้างระบบศูนย์ข้อมูลเพื่อใช้ในองค์กร และกำลังมองหาบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เชื่อใจได้ และมีอัปเดตต่าง ๆ เพื่อดูความคืบหน้าของงานว่าเป็นไปอย่างไรอยู่ล่ะก็ Hocco ของเราเป็นบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ให้บริการพัฒนาซอฟต์แวร์และดิจิทัลโซลูชั่น ซึ่งใช้แนวคิดในการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบ Agile ทำให้ทีมของเราสามารถส่งมอบงานได้อย่างรวดเร็วและบ่อยครั้งขึ้น โดยจะส่งมอบงานเป็นหน่วยย่อย ๆ ซึ่งจะช่วยทำให้ลูกค้าสามารถให้ข้อเสนอแนะ และติดตามความคืบหน้าของงานได้ง่ายขึ้น การทำงานแบบ Agile นี้ ทำให้ทีมนักพัฒนาซอฟต์แวร์เรามีความยืดหยุ่นสูง และสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว รวมไปถึงเกิดการพัฒนาของงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการทางธุรกิจของลูกค้าได้มากที่สุด
0 Comment